ทัศนคติและความต้องการจำเป็นต่อร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้แต่ง

  • ประภาสิริ สุริวงษ์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, ทัศนคติ, ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ, ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ ศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ของเพศชายและเพศหญิงเกี่ยวกับการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศและความความต้องการจำเป็นของนักศึกษาต่อร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งการศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ chi-square test และ fisher exact test และความต้องการความต้องการจำเป็นของนักศึกษาต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตที่นิยามตนเองเป็น Lesbian จำนวน 4 คน Gay จำนวน 4 คน Bisexual จำนวน 4 คน  transgender จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

         ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีทัศนคติที่มีต่อการร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ประเด็นเนื้อหากฎหมายว่าด้วย เมื่ออีกคนเสียชีวิต ผู้ที่มีชีวิตอยู่ต้องชดใช้หนี้แทนผู้เสียชีวิต (P-value = 0.019) และทัศนคติเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะไม่สามารถนำไปใช้งานได้ (P-value= 0.040) โดยที่เพศชายจะมีความเห็นด้วยต่อประเด็นเนื้อหากฎหมายมากกว่าเพศหญิง ในส่วนของความต้องการจำเป็นของนักศึกษาต่อร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ พบว่านักศึกษามีความต้องการจำเป็นทางด้านสิทธิมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ด้านความรักและความเป็นเจ้าของ ด้านกายภาพและร่างกาย และด้านความสมบูรณ์ของชีวิต ตามลำดับ

        ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้และส่งเสริมทัศนคติกับเพศหญิง และควรศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายคู่ชีวิตของต่างประเทศกับกฎหมายของประเทศไทย เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ของต่างประเทศหรือบทเรียนของต่างประเทศ    

         คำสำคัญ : ความต้องการจำเป็น/ทัศนคติ/ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ/ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต

References

Chonodyb, S. N. W. J. (2013). Heterosexual Attitudes Toward SameSex Marriage: The Influence of Attitudes
Toward Same-Sex Parenting. Journal of GLBT Family Studies, 408-411. doi: 10.1080/1550428X.2013.832644
Ellison, C. G., Acevedo, G. A., & Ramos-Wada, A. I. (2011). Religion and attitudes toward same-sex marriage among U.S. Latinos Vol. 1. Social Science Quarterly (pp. 35-56). doi:10.1111/j.1540-6237.2011.00756.x
J., P. (2562). เช็คกันหน่อย 28ประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตแต่งงานเพศเดียวกัน. Retrieved from https://today.line.me/th/
Labriola, K. (Producer). (2015, 20 April 2020). what Is Bisexuality? Who is Bisexual? Retrieved from http://www.kathylabriola.com/articles/what-is-bisexuality-who-is-bisexual
LEONARD, R. (2018). A SOLUTION FOR THE UNITED STATES' TRANSGENDER BATHROOM DEBATE. Wisconsin Intemnational Law Journal, 35(3), 670-703.
Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation (Vol. 50).
N.Peterson, E. R. G. a. E. (Producer). (2015, 20 April 2020). Lgbtqi Terminology. Retrieved from http://www.lgbt.ucla.edu/documents/LGBTTerminology.pdf
Olson, L. R., Cadge, W., & Harrison, J. T. (2006). Religion and public opinion about same- sex marriage Social Science Quarterly (pp. 340-360). doi:10.1111/j.1540-6237.2006.00384.x
pimchanok (Producer). (2558, 20 เมษายน 2563). คุณค่ารัก (แท้) กับความหลากหลายทางเพศ. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/Content/27439-รักอย่างไร+ให้ใจ+“สมดุล”+.html
Prople, G. l., and Gender Expression (Producer). (20 April 2020). Answers to Your Questions About Trangender. Retrieved from http://www.apa.org/topics/lgbt/transgender.pdf
Reekie, A. a. R., Surutchada. (2018). a case of incidental transplantation of the English law concept of vicarious liability into Thailand's Civil and Commercial Code. Comparative Legal History, 6(2), 207-232.
Sanders, D. (2019). Thailand and Diverse
Sexualities. Australian Journal of Asian Law, 20(1), 1-20.
Zimmerman, A. L. (2016). WHY THAILAND SHOULD REGULATE, NOT ATTEMPT TO ERADICATE. Brooklyn Journal of International Law, 41(2), 917-959.
ขึ้นบันได 5 ขั้น มุ่งมั่นให้ประสบความสำเร็จแบบฉบับมาสโลว์. (2559). Retrieved from https://moneyhub.in.th/article/maslows-hierarchy-of-needs-and-success/
คะนึงนิจ อนุโรจน์. (2557). Lendership: Tips for Successtul Sustainable Development.
Royal Thai Airforce Medical Gazette- แพทย์สารทหารอากาศ, 53 - 56.
จันทรานี, ก. ข. แ. เ. (2562). สรุปสาระสำคัญจากโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง (พ.ร.บ.) คู่ชีวิตมีสิทธิแค่ไหน? Retrieved from http://www.law.tu.ac.th/summary_seminar_civil_partnership_bill/
จุมพต สายสุนทร. (2560). ฐานะทางกฎหมายของผู้รักร่วมเพศ. 13(2), 60-69.
ฉัตรชัย เอมราช. (2557). ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....
ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร และ ภาณุมาศ ขัดเงางาม. (2560). สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. 22(2), 1-13.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2555). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิภาพและศักดิ์ศรีความป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2556). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์หทัย สังสุทธิ. (2556). ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงฯ. 24(3).
วีระ โลจายะ. (2525). กฎหมายสิทธิมนุษชน. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์ และ นิภา มนูปิจู. (2525). ประชากรกับคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์.
อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์. (2562). ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมกรณีการนำกฎหมายการจดทะเบียนสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ในการปรับใช้กับกฎหมายไทย. 12(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-03