รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติจังหวัดนนทบุรี ปี 2559

-

ผู้แต่ง

  • แคทรียา การาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: รูปแบบการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ /กลไก /กระบวนการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายและกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และศึกษารูปแบบการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติจังหวัดนนทบุรี โดยหมายถึง กลไก และกระบวนการพัฒนาผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาทำการศึกษาวิจัย 12 เดือน ระหว่างเดือน มกราคม 2562 – ธันวาคม 2562

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักในการกำหนดความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม คือ กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่ประกอบไปด้วย การจัดกลไก การทบทวนวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำหนดประเด็นในการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การตัดสินใจเชิงนโยบาย (การจัดประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด) การผลักดันขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย และการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะกระบวนการขั้นการจัดกลไก การกำหนดประเด็น และการผลักดันขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติ ในส่วนของปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายเป็นปัจจัยเสริมที่เอื้อและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมไปสู่การปฏิบัติ รูปแบบการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ จังหวัดนนทบุรี คือ รูปแบบสมดุลประยุกต์ คือกลไกมีความสมดุลภาคส่วน กระบวนการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติมีการประยุกต์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

 

References

บรรณานุกรม
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม; มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2559 : ตายดีวิถีเลือกได้, นครปฐม; 2559. ระบบสถิติทางการทะเบียน. จำนวนประชากรแยกรายอายุ ทั่วประเทศ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561. [อินเตอร์เน็ต]./2561/ [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม; มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2556 : ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเพิ่มพลังพลเมือง, นครปฐม; 2556.
อำพล จินดาวัฒนะ. ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปชีวิตและสังคม (เล่ม 1) นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ. กรุงเทพฯ: มณัสฟิล์ม; 2550.
ทญ.ทิพาพร สุโฆษิตม นำพิชญ์ ธรรมหิเวศน์. วิเคราะห์อนาคตระบบสุขภาพไทย ในสองทศวรรษหน้า. นนทบุรี: สถาบันบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2551.
จารึก ไชยรักษ์, ศิริธร อรไชย, บรรณาธิการ. แนวทาง (Guideline) การจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 2555.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จังหวัดนนทบุรี ปีที่ 2 พ.ศ. 2558-2559.
ประเวศ วะสี. สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา. [อินเตอร์เน็ต]./ 2550/ [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก ttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=012007 &group= 11& date = 14 &gblog=11
สุรศักดิ์ บุญเทียน, ศิริธร อรไชย, บรรณาธิการ. การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่: หลักคิดเพื่อการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2553.
ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/4401
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รูปแบบและความหมายสมัชชาสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]./2558/ [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://classic.samatcha.org
ผู้แทนภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพร่วมกับทีมงานสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. การประชุมพัฒนานิยามเชิงปฏิบัติการ กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (อัดสำเนา) ; 1-2 กรกฎาคม 2557; โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร.
นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ . รายงานวิจัยเรื่อง สมัชชาสุขภาพกับกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม: บทเรียนจากนโยบายสาธารณะด้านยา มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ. นนทบุรี: สํานักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)/สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.);2557. [ไม่ปรากฏเลขที่รายงาน]
ศุภวรรณ พลายน้อย การประเมินสมัชชาสุขภาพ: นัยสำคัญแนวคิดและการพัฒนาระบบประเมิน. ใน: ศุภวรรณ พลายน้อย. (บรรณาธิการ) การประเมินสมัชชาสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; 2554 หน้า 20-30
ดวงใจ รุ่งโรจน์เจริญกิจ. (แปลและเรียบเรียง) กฎบัตรออตตาวาว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาพฯ และข้อเสนอ แนะต่อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพฯ. นนทบุรี: แผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและ ระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2548
เดชรัต สุขกำเนิด,บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณะ: ความเกี่ยวพันกับระบบสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์]
ถวิลวดี บุรีกุล. การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. ในการประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา (อัดสำเนา); 17 มิถุนายน 2551; สถาบันพระปกเกล้า
Paul A. Sabatier. Toward Better Theories of the Policy Process. Published online by Cambridge University Press: 02 September 2013. Vol. 24, No. 2 (Jun., 1991), pp. 147-156 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://doi.org/10.2307/419923
Navid Ghaffarzadegan, John Lyneis, George P. Richardson. How small system dynamics models can help the public policy process. Irst. published: 20 October 2010 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://doi.org/10.1002/sdr.442
สุนีย์ สุขสว่าง, วิเชียร ทาแกง, บรรณาธิการ. ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปชีวิตและสังคม (เล่ม 4) นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ. กรุงเทพฯ: พีเอ็นเอส ครีเอชั่น; 2555.
วิชิต พุ่มจันทร์. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมกับการตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่. ใน: สรชัย จำเนียรดำรงการ, คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร, บรรณาธิการ. การประชุมวิชชาการ ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตยในโอกาส 9 ปี สช. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2558. หน้า 53-54.
สุรศักดิ์ บุญเทียน. รูปแบบการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่. [อินเตอร์เน็ต]./ 2555/ [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/viewFile/6138/5353
สุภาภรณ์ สงค์ประชา. โครงการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด (PHPP; PHA). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2559
ธีรเดช ฉายอรุณ การประเมินปลายน้ำ: การประเมินสมัชชาสุขภาพขาเคลื่อน. ใน: ศุภวรรณ พลายน้อย. (บรรณาธิการ) การประเมินสมัชชาสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; 2554 หน้า 118-126
กฤษณ์ รักชาติเจริญ. ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2559
กานต์ เสกขุนทด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฎ [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; [ไม่ปรากฏปีที่จบ]
วิโรจน์ เซมรัมย์. การนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; [ไม่ปรากฏปีที่จบ]
กล้า ทองขาว. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ [พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2534.
สมภพ ศรีเพ็ญ. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ศึกษากรณีแผนงานพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ [ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2538.
วัลลภ ลำพาย. ปัญหาและกระบวนการนำนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ของไทยไปปฏิบัติ. [ปริญญาดุษฎีรัฐศาสตรบัณฑิต] กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
ชัชชญา อัศววีรเดช. ศึกษาการนำนโยบายสาธารณะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปปฏิบัติสำหรับการให้บริการเกมออนไลน์และอินเทอร์เน็ต [รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; [ไม่ปรากฏปีที่จบ]
นัยนา หนูนิล, สายฝน เอกวรางกูร, เรวดี เพชรศิราสัณห์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2560 The Healthy Public Policy Process for Trang Provincial Driven Tobacco Control. School of Nursing, Walailak University [อินเตอร์เน็ต]./ 2562/ [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri. or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4781/hsri_journal_v11n3_p414.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ศิราณี ศรีหาภาค, และคณะ. รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ในชุมชนอีสานภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]./2561/ [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4888? locale-attribute=th
ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ ฐิติกร, โตโพธิ์ไทย ธีรพงษ์ คำพุฒ, และคณะ. การจัดการนโยบายสาธารณะและปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของเทศบาลสามระดับในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]./2561/ [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri. or.th/ dspace/bitstream/handle/11228/4936/hsri-journal-v12n3-p384-403.pdf?sequence =1&isAllowed=y
พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ. การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน [ไม่ปรากฏปริญญา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18