แนวทางการสร้างความผูกพันของศิษย์เก่า คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, ค่านิยมองค์กร, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน ระดับค่านิยมองค์กร และระดับการ                   มีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ  ความผูกพันของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันของศิษย์เก่า คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method) ประชากร คือ ศิษย์เก่า และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือผู้แทนจากคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 351 คน อัตราตอบกลับ 324 คน (92.30%) และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน            9 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Person) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความผูกพันมากที่สุดในด้านความเชื่อมั่นและยอมรับ                   ในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ 2) ระดับการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 3) ระดับพฤติกรรมและการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรมากที่สุดในด้าน Harmony: กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) จัดตั้งกลุ่ม Facebook ศิษย์เก่า เพื่อใช้ติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณะฯ และศิษย์เก่า รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างศิษย์เก่าด้วยกัน 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า หรือเชิญศิษย์เก่าเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดโครงการหรือกิจกรรมของคณะฯ หรือการจัดกิจกรรมโดยการแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3) จัดตั้งสมาศิษย์เก่า เพื่อเข้ามาบริหารจัดการและดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับศิษย์เก่า ภายใต้การบริหารงานที่สอดคล้องกับแนวทางของคณะฯ                                                                                                                                      

 

References

ฐิติพันธ์ ปรีดิณวัฒน์. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา
ปรารถนา ผกาแก้ว. (2561). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในกลุ่มบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณัฐพงษ์ ขอดใจ. (2560) ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ณฐพรรณ ชาญธัญกรรม. (2560) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก
อรอุสา เกสรสังข์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
ศิวชาติ แสงทอง. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมนฑลกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา-บัณฑิต) อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ดลชนก โมธรรม, ศิริลักษณ์ ประสันแพงศรี. อิทธิพลของค่านิยมร่วมที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฝ่ายสาขาตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น. 27-42). ไทย. สืบค้นจาก
http://gs.nsru.ac.th/files/3/3%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%20%20%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.pdf
มนตรี นามวงค์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การบริหารความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าของสำนักงาน ศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 23 (3), 164-178. file:///C:/Users/Asus/Downloads/112657-Article%20Text-288882-1-10-20180220%20(2).pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. สืบค้นจาก https://op.mahidol.ac.th/pl/wp-content/uploads/2018/11/Mahidol_Strategic_Plan_2018-203720Year.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18