การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดซื้อจัดจ้างที่มีธรรมาภิบาลของผู้ค้าภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ กาหลง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การจัดซื้อจัดจ้าง, ธรรมาภิบาล, ผู้ค้าภาครัฐ

บทคัดย่อ

                                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่มีธรรมาภิบาลของผู้ค้าภาครัฐ โดยมีตัวแปรองค์ประกอบของธรรมาภิบาลของผู้ค้าภาครัฐอันได้แก่ การยึดหลักนิติธรรม การยึดหลักคุณธรรม การยึดหลักความโปร่งใส การยึดหลักความรับผิดชอบ การยึดหลักความคุ้มค่า และการยึดหลักความมีส่วนร่วม และ2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดซื้อจัดจ้างที่มีธรรมาภิบาลของผู้ค้าภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ค้าภาครัฐจำนวน 400 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis)

                                  ผลการศึกษาพบว่า การจัดซื้อจัดจ้างที่มีธรรมาภิบาลของผู้ค้าภาครัฐโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนองค์ประกอบทั้ง 6 พบว่า การยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) อยู่ในระดับมาก  การยึดหลักคุณธรรม (Morality)  อยู่ในระดับมาก  การยึดหลักความโปร่งใส (Accountability) อยู่ในระดับมาก   การยึดหลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) อยู่ในระดับมาก  การยึดหลักความคุ้มค่า (Economy) อยู่ในระดับมาก   และการยึดหลักความมีส่วนร่วม (Participation) อยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบจากหลักฐานเชิงประจักษ์ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 6 เป็นองค์ประกอบที่แท้จริง มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย Chi-Square =0.213, df= 2, x2/df= 0.1542 ,p-value =0.7285, CFI = 0.954, TLI = 0.969, RMSEA =0.064, SRMR =0.030

References

กระทรวงการคลัง. (2560). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมบัญชีกลาง.
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(1), น.126-156.
ทรงลักษณ์ ณ นคร และกัญญดา ประจุศิลป. (2557). การพัฒนาแบบประเมินธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), น. 225-231.
ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ และตวงทอง สินชัย. (2563). การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), น. 311-323.
ผจงสุข เนียมประดิษฐ์ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารครุศาสตร์, 43(2), น. 35-46.
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134 (ตอนที่24ก), 13-54.
พัชฌา จิตรมหึมา. (2562). วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในประเด็นการกำหนดหลักธรรมาภิบาลและแนวทาง ในการสร้างความโปร่งใสตามกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ. บทความเชิงวิเคราะห์กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ, กรุงเทพฯ: กองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, น. 1-29.
มนัส แจ่มเวหา และ โกมล จิรชัยสุทธิกุล. (2559). การปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐแนวใหม่. จุลนิติ, 13(5), น. 1-25.
รินทร์ชิสา เกล็ดประทุมกานต์ และพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2563). อิทธิพลของธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), น. 13-26.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2563). เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด. สืบค้น 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nacc.go.th/naccCulIncul/naccCulpability.php
Hooper, D., Coughlan, J. and Mullen, M. R. (2008). “Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit.” .The Electronic Journal of Business Research Methods, 6 (1), pp. 53 - 60

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29