การจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การจัดการอย่างยั่งยืน การพัฒนาอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยว ตลาดน้ำบทคัดย่อ
ตลาดน้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและประเทศ เพราะก่อให้เกิดกิจกรรมการค้าขายและการจ้างงาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำในอดีต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืน ผ่านการศึกษาทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากแนวคิดทฤษฎีและการเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวตลาดน้ำ
ผลการศึกษาสามารถนำเสนอได้ ดังนี้ การท่องเที่ยวตลาดน้ำเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยตลาดน้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ตลาดน้ำในภาคกลางมีจำนวนหลายแห่ง แต่ละแห่งจะมีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้แล้ว ในการสังเคราะห์องค์ความรู้ในการจัดการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำให้เป็นไปอย่างยั่งยืนผ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 งาน ซึ่งเป็นการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการตลาดน้ำในภาคกลาง ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียง พบว่า การบริหารจัดการจะมุ่งเน้นไปที่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2) การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง 3) การจัดการเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุนมนุษย์ ทุนสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคม ทุนทางกายภาพ ทุนการเงิน และ 4) การจัดการด้านการประชาสัมพันธ์
References
_______. (2558). ปีท่องเที่ยววิถีไทย2558. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://thai.tourismthailand.org/
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว. รายงานฉบับสมบูรณ์ประจำปีงบประมาณ 2562. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กัลยกร แสวงผล. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำไทรน้อยโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โกเมน กันตวธีระ. (2556). ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น. บทความวิจัย เสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 (520)
จิราภรณ์ ศรีคำ. (2547). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดน้ำลำพญาจังหวัดนครปฐมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. งานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ณภัทร ขุนทรง. (2558). ตลาดน้ำขวัญเรียมกับการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรพร ทองปัญญา. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 48 ฉบับที่ 2 (2561): 181-201.
ธีราภรณ์ นกแก้ว. (2554). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ปีที่ 8 เล่มที่ 1 หน้า 49 – 59.
ธันยวัฒน์ จิตตะยโศธร. (2558). โครงการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในกลุ่มประเทศแหลมมลายู.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, หน้า3.
พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. งานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ไพรินทร์ เล็กพูนเกิด. (2559). กระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการขยะมูลฝอย ของตลาดน้ำวัดลำพญา. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ประภาศรี เหิกขุนทด. (2551). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยววัดพระเชตุพนมังคลาราม (วัดโพธิ์). กรุงเทพมหานครฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เบญจวรรณ สุจริต และ ชัชชัย สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. งานวิจัย สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542) การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนัส จันทร์เพ็ง. (2558). แนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558.
รัศมี อุตเสนา. (2557). หน้าที่ของตลาดน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ คลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาชนบทศึกษาและการพัฒนา สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัฐนันท์ พงศ์วิริท และ ภาคภูมิ ภัควิภาส. (2557). แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์,หน้า 45.
นราวดี บัวขวัญ. (2556). รูปแบบการจัดการตลาดน้าเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ตลาดน้าคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณา ศิลปอาชา. (2557). สถานการณ์ทั่วไป การท่องเที่ยวและนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ แขนงวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะการจัดการท่องเที่ยวและโรงแรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา วงษ์วาณิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิคิเนียร์ มายอร์. (2555). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวบ่อน้ำร้อนรักษะวารินและบ่อน้ำร้อนพรรั้งจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศราวุธ ผิวแดง. (2559). การพัฒนาการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุกรธานี.
ศิระ นาคะศิริ. (2556). แนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับตลาดสามชุก: ความสำเร็จและปัญหา. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการฯ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
อรวรรณ น้อยวัฒน์. (2556). กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความรู้. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (ออนไลน์). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ฉบับที่ 4 ปี 2556. คืนเมื่อ 15/02/2564 เข้าถึงจาก https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book56_4/km.html .
อุดม เชยกีวงศ์. (2552) วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ตลาดน้ำ. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาสร้างสรรค์.
Becken, S., & Hay, J. E. (2007). Tourism and climate change : risks and opportunities. Clevedon, U.K. : Channel View Publications, p.87
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Laing, J., & Frost, W. (2014). Explorer travellers and adventure tourism. Bristol, UK. ; New York : Channel View Publications.
World Tourism Organization. (1998). Guide for local authorities on developing sustainable tourism. Madrid, Spain: WTO
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 sasikan phlykhumphol
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล