การวิเคราะห์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

ผลงานวิจัย, วิจัยทางการพยาบาล, ระเบียบวิธีวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของผลงานวิจัยตีพิมพ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ประชากรในงานวิจัย ได้แก่ ผลงานวิจัยตีพิมพ์ประเภทบทความวิจัยของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี พ.ศ.2553-2557 จำนวน 361 เรื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์โดยใช้ค่าไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า มีผลงานวิจัยตีพิมพ์จำนวน 361 เรื่อง ส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2556 (ร้อยละ 21.9) และเป็นประเภทวิทยานิพนธ์ (ร้อยละ 54.6) งานวิจัยส่วนใหญ่มีการกำหนดสมมติฐาน (ร้อยละ 50.4) เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์/เชิงทำนาย (ร้อยละ 37.7) กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเปิดตารางหรือการใช้ค่าอิทธิพล (ร้อยละ 47.6) จำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้อยู่ระหว่าง 21 – 100 คน (ร้อยละ 59.0) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ (ร้อยละ 78.65) เครื่องมือวิจัยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบสอบถาม (ร้อยละ 59.0) การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ Descriptive Statistic (ร้อยละ 93.1) ประเด็นการวิจัยที่ศึกษา 3 ลำดับแรกคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การสร้างเสริมสุขภาพ และสุขภาพจิต ตามลำดับ

ข้อสรุปจากการวิจัย ทำให้ทราบทิศทางงานวิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้านการวิจัยของคณะพยาบาลศาสตร์  ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้คำปรึกษาในการทำงานวิจัยของบุคลากรได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ

References

Polit, D.F., & Beck, T.B. (2004). Nursing Research: Principles and methods (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
ขวัญตา บาลทิพย์, ประณีต ส่งวัฒนา, อังศุมา อภิชาโต, และรังสิยา นารินทร์. (2545). สถานภาพการวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลในภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ. 2538-2543. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 22(2), 1-16.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ประวัติการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มีนาคม 2558 แหล่งที่มา https://ns.mahidol.ac.th/nurse_th/mns/mns_about.html
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). แผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม, 2562, จาก http://nurseintranet.mahidol/Doc_Download/plan/Plan_Doc.html
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์, ประภาพันธ์ พลายจันทร, และ เกรียงไกร ชัยมินทร์. (2554). การวิเคราะห์การอ้างอิงผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 28-39.
ปราณี ทู้ไพเราะ, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, จารุวรรณ ต.สกุล, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, พรทิพย์ อาปณกะพันธ์, วรรณี สัตยวิวัฒน์, และสุธีรา ฮุ่นตระกูล. (2539). การสำรวจผลงานวิจัยทางการพยาบาลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2532 – 2535. วารสารพยาบาลศาสตร์, 14(4), 49-57.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559-2562 สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม, 2562, จาก https://mahidol.ac.th/th/fact-figures-2/
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566 สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม, 2563, จาก https://science.mahidol.ac.th/th/PDF/MU_Plan63_66_apr62.pdf
วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2552). การวิจัยทางการพยาบาล: หลักการและแนวปฏิบัติ. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.
วิภาดา คุณาวิกติกุล, อรอนงค์ วิชัยคำ, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2558). ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2553-2556. พยาบาลสาร, 42(4), 98-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01