การสำรวจความคิดเห็นต่อการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การคุกคามทางเพศ, ระบบขนส่งสาธารณะ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การคุกคามทางเพศเป็นปัญหาทางสังคมที่มีอุบัติการณ์เกิดเพิ่มมากขึ้นดังที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่ปัญหาดังกล่าวถูกมองข้ามจากประชาชนบางส่วนซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจในปัญหาและมองว่าเป็นปัญหาส่วนตัวจึงทำให้ปัญหาการคุกคามทางเพศขาดการป้องกันและการแก้ไขที่เหมาะสม ปัจจุบันการข่มขืนกระทำชำเราหรือการคุกคามทางเพศไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเพศหญิงเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นกับเพศชายและบุคคลที่มีความหลากหมายทางเพศได้ปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการคุกคามทางเพศเนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากใช้บริการและเอื้ออำนวยต่อความเสี่ยงการคุกคามทางเพศ โดยเฉพาะสถานที่ปิด ดังนั้นวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุการเกิดปัญหา พฤติกรรมและวิธีการเผชิญปัญหาการคุกคามทางเพศของผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ การวิจัยนี้ได้รับการรับรองจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยมหิดล MUSSIRB No. 2019/199 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional analytic studies) กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ (รถโดยสาร ขสมก./รถร่วมบริการ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง รถไฟฟ้า BTS รถสองแถว รถตู้ รถไฟฟ้า MRT แท็กซี่ เรือโดยสาร Grab แท็กซี่ รถไฟฟ้า Airport rail link อูเบอร์ เครื่องบิน และรถไฟ) ทั้งเพศหญิง เพศชายและเพศทางเลือก ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,654 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านได้ถูกตรวจสอบด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.888 การแจกแจงความถี่และร้อยละสำหรับการอธิบายข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า เพศหญิงมีการรับรู้ความเสี่ยงการคุกคามทางเพศสูงสุด (44.7%) แท็กซี่เป็นระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเสี่ยงต่อการคุกคามทางเพศสูงสุด (55.6%) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าผู้ที่ถูกลวนลามมีลักษณะดึงดูดทางเพศ แต่งกายเย้ายวน (45.4%) ผู้ชายที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้เปรียบด้านกำลังกาย ฉวยโอกาสกับผู้หญิงในการคุกคามทางเพศจากความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน (30.9%) และระบบขนส่งสาธารณะมีผู้โดยสารเบียดเสียด (52.5%) พฤติกรรมการคุกคามทางเพศถูกกระทำมากที่สุดคือใช้สายตาลวนลาม (18.8%) รองลงมาคือ ผิวปากแซว (13.9%) วิธีการเผชิญปัญหาภายหลังจากการถูกคุกคามทางเพศประกอบด้วยการเดินหนีจากเหตุการณ์ (23.0%) รองลงมาคือการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น (16.6%) ภายหลังการเผชิญปัญหาคิดว่าแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (45.3%) บอกเพื่อนหรือคนในครอบครัว (32.2%) และเล่าเรื่องราวผ่านทางสังคมออนไลน์ (22.4%) การคุกคามทางเพศคงเกิดขึ้นในระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร

ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการคุกคามทางเพศสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแนวคิดให้เพศหญิงมีความเท่าเทียมกับเพศชาย มีสิทธิเสมอภาคกัน แต่ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังมีให้พบเห็นได้ทั่วไปในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกับเพศหญิงหรือเพศทางเลือก ดังนั้นมาตรการทางสังคมในการปรับปรุงกฎหมายที่ทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เกิดการคุกคามทางเพศจึงยังคงมีความจำเป็น และผู้ที่ใช้บริการระบบขนส่งในกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะผู้หญิงและเพศทางเลือกต้องเรียนรู้ทักษะในการจัดการกับการคุกคามทางเพศที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และตระหนักถึงรูปแบบและสาเหตุที่หลากหลายภายและซับซ้อนใต้บริบทของระบบขนส่งสาธารณะ

References

International Labour Office [internet]. Sex harassment in work place. Available at http://www.oit.org/public/english//region/asro/bangkok/download/background/decla/fact_th_harass.pdf, accessed November 12, 2018.

Ratchadaporn Sriraksa, Siriporn Panyametheekul [internet]. The Discourse of Sexual Harassment in Everyday Conversation: A Study of Critical Discourse Analysis. Available at http://researchconference.kps.ku.ac.th/article_9/pdf/o_human22.pdf, accessed November 12, 2018.

Thaveekait M. Criminal Law: Principles and problems. Bangkok.Thammasat University; 2003.

Department of Women’s Affairs and Family, Ministry of Social Development and Human Security [internet]. Domestic violence situation 2558 report under Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550. Available at https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d120859-06.pdf, accessed November 12, 2018.

Thippawan S. Sexual harassment behavior at workplace: a case study of nurses in Suratthani Hospital.Songkla:Prince of Songkla University; 2009.

Bargh JA, Raymond P. The Naive Misuse of Power: Nonconscious Sources of Sexual Harassment. Journal of Social Issues 1995; 51(1): 85-96.

Lawrence E. Cohen and Marcus Felson. Social change and crime rate trends: A routine activity approach. American sociological review 1979; 44(8): 588-608.

Jutharat A. Factors risking to be sex crime victims of Thai female. Bangkok. Chulalongkorn University 2007.

Akekpong P. Sexual Harassment in the Workplace. Law Journal 2003; 22(1): 103-117.

Kunlapha W. Image and Family Life in Thai Society. Nakornpathom: October Print; 2011

Panuwat K. The Study of Teenagers’Behavior in Using Social Networking Sites (SNSs) in Thailand : A case Study of Facebook.Thammasat University; 2011

Somsan A. Sexual harassment on social network. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2014; 4(3): 901-916.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31