การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนนายเรือ ปีการศึกษา 2563

ผู้แต่ง

  • นาวาตรี ผศ.สันติ งามเสริฐ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
  • นาวาเอก ผศ.ศิริพงศ์ ศรีสุขกาณจน์

คำสำคัญ:

ระบบจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, ครูทหาร, นักเรียนนายเรือ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือ (นนร.) ต่อระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 5) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และ นนร. จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การหาประสิทธิภาพของระบบ (E1/E2) และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.1 ระบบ การจัดการข้อมูล 1.2 ระบบการจัดการรายวิชา และ 1.3 ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ 2. ประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2 = 84.20/80.23) 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ระบบ ฯ พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 21.21, sig = .000) โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน ( = 48.87 และ 26.93, S.D. = 3.83 และ 7.60 ตามลำดับ) 4. นนร.มีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, S.D. = 1.03) โดย นนร.มีความพึงพอใจด้านบริหารจัดการเรียนรู้ ( = 3.95, S.D. = 1.08) และด้านประสิทธิภาพการใช้งานระบบ ( = 3.76, S.D. = 1.09) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน 5. ปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบ ดังนี้ 5.1 ปัญหา: ครูและผู้เรียนขาดความชำนาญในการใช้สื่อการสอน การฝึกทักษะภาคปฏิบัติในชั่วโมงเรียนของ นนร.ปฏิบัติได้ยาก และ การมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 5.2 แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา: เพิ่มประสิทธิภาพระบบอินเตอร์เน็ต เน้นใช้สื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ ด้วยตนเอง เน้นการฝึกทักษะภาคปฏิบัติ และครูผู้สอนต้องพัฒนาทักษะการใช้สื่อการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

References

เชน ชวนชม. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft office สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 10 (3), 195 – 206.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). เกณฑ์และการกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอน. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก http://gg.gg/hwlj3
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-learning หลักการออกแบบและสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 – 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 35 ตอนที่ 82 ก หน้า 5
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (ม.ป.ป.). แนวทางการพัฒนาอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย: การพัฒนาโปรแกรมต้นแบบระบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก http://gg.gg/hwke0
วิชุดา รัตนเพียร. (2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์. 27 (3), 29 - 35.
วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (ม.ป.ป.). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32 (1), 7 – 13.
สุวัฒน์ บันลือ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11 (2), 250 – 260.
สันติ งามเสริฐ. (2561). การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนนายเรือให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 5 (16), 44 – 61.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1: พริกหวานกราฟฟิค.
อิสริยา เลาหตีรานนท์. (2553). อีเลิร์นนิง. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก http://gg.gg/hw4qw
Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607 - 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04