พฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชนในตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • Kanang Kantamaturapoj
  • Jarinporn Joonkiat ึคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

behavior, conservation, leatherback sea turtle

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชน ในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เพื่อทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และเพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ผู้วิจัยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 ตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองในพื้นที่หาดท้ายเหมืองจำนวน 4 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับการวัดการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติ t-test และความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และ เปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้ LSD หรือ Fisher’s Least – Significant Different

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 26.94 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง พบว่า อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพครอบครัว อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ ประสบการณ์ในการร่วมกิจกรรม ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผู้วิจัยเสนอให้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเต่ามะเฟืองให้สาธารณชนได้รับรู้ในวงกว้างผ่านทาง สื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อออนไลน์ เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า สื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อออนไลน์ เป็นช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์ที่มากที่สุด 2) ภาครัฐควรสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจบริเวณริมชายหาด ซึ่งเป็นสถานที่วางไข่ของแม่เต่ามะเฟือง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และขอความร่วมมือในการดูแลชายหาดและแสงไฟที่ส่งผลต่อการวางไข่ของเต่ามะเฟืองในช่วงระยะเวลาฤดูวางไข่

Author Biography

Jarinporn Joonkiat, ึคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยมหิดล 

References

กมลทิพย์ ประสิทธิ์นราพันธุ์. (2553). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติเอราวัณของนักท่องเที่ยวชาวไทย จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพมหานคร.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2562). บทสรุปผู้บริหาร : รายงานผลสัมฤทธิ์ของการอนุรักษ์และฟื้นฟูเต่ามะเฟืองอย่างมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร. (2561). สถานภาพและแนวโน้มประชากร. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2563 จากhttps://km.dmcr.go.th/th/c_258/d_19103
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). รายงานสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก พ.ศ.2560. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2554). สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2550-2554. สืบค้น 20 มีนาคม 2563 จาก http://dmcr2014.dmcr.go.th/library.php.
ขนิษฐา ใจเย็น. (2556). พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(2), 665-680.
จุฑาธิป ถิ่นถลาง. (2558). ความรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน: กรณีศึกษาอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. Thammasat University Journal, 34(1), 103-121.
ธิติกร กิตตินันท์, กิติชัย รัตนะ, & อภิชาต ภัทรธรรม. (2562). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในโครงการพัฒนาพื้นที่รอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดชลบุรี. Paper presented at the การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.
ธีรเดช ชูมณี (2557). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของประชาชน
ชุมชนบ้านเปร็ดใน ตําบลห้วงนําขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์รัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี
ปรารพ แปลงงาน และสุรชาญ สารบัญ. (2557). โครงการติดตามการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองและอุทยานแห่งชาติสิรินาท. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม พ.ศ. 2557. 370 – 371.
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว และ ธนกฤต สังข์เฉย (2562). การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับท้องถิ่น:กรณีศึกษา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวนศาสตร์ 38(1): 112-121.
น้ำผึ้ง นาพันธ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลของประชาชนในชุมชนวัดช่องลม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ปีที่ 12: 70-80.
สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์. (มปป.). เต่าทะเลไทย: ชนิด ชีววิทยา การศึกษาและการอนุรักษ์. สงขลา:ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง.
สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์, มิคมินทร์ จารุจินดา, Wataru Sakamoto, Nobuaki Arai, นาวาเอกวินัย กล่อมอินทร์, ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ และสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์. (2544). การศึกษาการเดินของเต่าตนุ (Chelonia mydas) โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม. รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการกรมประมง.
สมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กูล. (มปป.). คู่มือการสำรวจและอนุรักษ์เต่าทะเล. กรมป่าไม้ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31