ประสิทธิผลการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบน Facebook Ads และ Google Ads กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เอสเซนซ์บำรุงผิว บริษัท เฟซแลบส์(ประเทศไทย) จำกัด

ผู้แต่ง

  • ณพัฐอร ฐิติฐาน์เดชน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, Facebook Ads, Google Ads, ผลิตภัณฑ์เอสเซนซ์บำรุงผิว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายต่อการเข้าถึงเว็บไซต์ (Traffic) และการมองเห็น (Impression) ของโฆษณาเฟซบุ๊กและกูเกิล และ 2) เพื่อวัดประสิทธิผลของเฟซบุ๊กและกูเกิลในการทำโฆษณาออนไลน์ว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจคลิกโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มใดมากกว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลของการทำโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กและกูเกิลจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ถึง 18 ธันวาคม 2562 โดยจะทดสอบการทำโฆษณาเป็นระยะเวลา 1 เดือน ติดตามผลสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง รวมทั้งหมด 4 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น 2 แคมเปญ 1) โฆษณาทางเฟซบุ๊กในรูปแบบภาพนิ่ง (Image) โดยเก็บผลจาก Ad Manager 2) โฆษณาทางกูเกิลจะในรูปแบบแบนเนอร์ GDN (Google Display Network) โดยเก็บผลจาก Google Ads หลังจากครบหนึ่งเดือน ผู้วิจัยจะดูรายงานผลของเว็บไซต์จากโปรแกรม Google Analytics

            ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลุ่มเป้าหมายต่อการเข้าถึงเว็บไซต์ และการมองเห็น  โฆษณาของเฟซบุ๊ก  มีอัตราการแสดงผลการมองเห็น (Impression) อยู่ที่ 519,541 ยอดคลิก (Click) อยู่ที่ 2,091 และค่าโฆษณาต่อคลิก (CPC) อยู่ที่ 4.50  ในขณะที่ โฆษณาของกูเกิล (Google) มีอัตราการแสดงผลการมองเห็น (Impression) อยู่ที่ 596,408 ยอดคลิก (Click) อยู่ที่ 12,271 ค่าโฆษณาต่อคลิก (CPC) อยู่ที่ 0.87 และมีผู้บริโภคสนใจเพิ่มสินค้าลงตระกร้า(Add To Cart) 49 คน นอกจากนี้ แพลตฟอร์มที่สามารถสร้างยอดผู้เข้าชมเข้ามาที่เว็บไซต์เฟซแลบส์ได้มากที่สุด คือ กูเกิล ผ่านการทำโฆษณาในรูปแบบแบนเนอร์ (Google Display Network) เนื่องจากมีอัตราการแสดงผล (Impression) และยอดคลิกที่สูงกว่าแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก

             

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-16