แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา สำหรับกลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา กรณีศึกษา : สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • รินฤทัย พินิจ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการเรียนการสอน, โยธวาทิต, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการจัดการเรียนการสอนดนตรี กลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรี กลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา ในระดับอุดมศึกษา
ในองค์ประกอบ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านคน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน 2) ด้านองค์ความรู้ได้แก่ หลักสูตร  กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
3) ด้านสื่อและสถานที่ ได้แก่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อุปกรณ์ สถานที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษานั้น ผู้สอนมีความรู้และประสบการณ์ตรงตามรายวิชา
และผู้เรียนมีประสบการณ์ในด้านวงโยธวาทิตมาก่อน นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีการจัดองค์ความรู้และทักษะให้แก่ผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้
ของหลักสูตรและรายวิชา รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่อและสถานที่ โดยวัดและประเมินผลจากการปฏิบัติหรือชิ้นงาน
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรี กลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา ในระดับอุดมศึกษา พบว่า ควรมีผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์
ที่ตรงสายงานด้านโยธวาทิต  เป็นผู้ที่รู้เท่าทันและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในขณะที่ผู้เรียนควรเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์ด้านวงโยธวาทิต
และมีเป้าหมายชัดเจนที่จะไปเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านวงโยธวาทิต  ซึ่งผู้เรียนควรได้รับองค์ความรู้และทักษะด้านวงโยธวาทิตครอบคลุมทุกด้าน
โดยวัดและประเมินผลจากการปฏิบัติและผลงานของผู้เรียน  รวมทั้งควรมีสื่อและสถานที่ ที่ครบถ้วนบนพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนวงโยธวาทิต

 

 

References

เอกสารอ้างอิง
ฌานิก หวังพานิช. (2559, มกราคม - มิถุนายน). แนวทางการจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20 (1), 2 -10.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พันธ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2560, มกราคม - ธันวาคม). การเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูดนตรี
ตามแนวทางของศตวรรษที่ 21 เพื่อการผลิตครูดนตรียุคใหม่สู่สังคม. วารสารสุริยวาฑิต, 4 (1), 12 -15.
----------. (2561). การสร้างรูปแบบการฝึกซ้อมวงดุริยางค์เครื่องลมระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมลมาศ พร้อมสุขกุล และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยแรงจูงใจและความต้องการของนักศึกษาต่อการเลือกศึกษาต่อสาขาดนตรี ระดับบัณฑิตศึกษา, วิทยาลัยการดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ไพฑูรย์ สินลารัตย์. (2558). การอุดมศึกษากับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
----------. (2558). ปฏิรูปการเรียนรู้ : ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพฯ : พี.เอ. ลีฟวิ่ง.
----------. (2560). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี. (2560). มคอ.2 หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). ศัพท์ดนตรีสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559, กรกฎาคม - ธันวาคม). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9 (2), 169 -176.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
----------. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วิตต์ธาดา เภาคำ. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีคลาสสิคและดนตรีสมัยนิยมเพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกุณา ประมายะยัง. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : ภาพพิมพ์.
สำนักงานหลักสูตรและการเรียนการสอน. (2556). คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ลำปาง : มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สุรพล นามเสนา. (2560, มกราคม - เมษายน). การจัดการเรียนการสอนดนตรีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 15 (1), 65 -72.
อนุรักษ์ บุญแจะ. (2557). กระบวนการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการสอนดนตรีในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดนตรี) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-18