โลกทางสังคมและสัญญะของดาราดัง

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ พันธุจริยา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผศ.ดร.ฉัตรวรัญ องคสิงห์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สัญญะ, ภาพลักษณ์, ดารา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์สัญญะการสร้างภาพลักษณ์ดารา เซเลบรีตี้ ในประเทศไทยผู้ทำวิจัยมีจุดประสงค์ คือ เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะผ่านดาราที่ได้รับการยอมรับในสังคมไทย จากการวิจัยศึกษา พบว่า การสร้างภาพดาราที่เกิดขึ้นสามารถสะท้อนให้เห็นความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อภาพตัวแทนมายาคติในสังคมนั้น ๆ ได้ไม่มากก็น้อย และภาพดาราที่เห็นนั้นจึงอาจจะเป็นเพียงการเห็นตนเองในภาพเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ภาพดาราในสังคมหลังสมัยใหม่เป็นเพียงภาพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความพึงพอใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างภาพจินตนาการขึ้นในจิตใจ เป็นภาพที่เกิดขึ้นว่าควรจะเป็นอย่างนั้นหรืออย่างใดอย่างหนึ่งอย่างที่ใจต้องการ เป็นสิ่งที่มีน้ำหนักเนื้อหา มีความหมาย เป็นการสร้างภาพขึ้นมาหรือเป็นความรู้สึกนึกคิดที่มาจากความเป็นจริงทั้งหลายที่มีอยู่ เป็นกระบวนการของจิตใจในการสร้างภาพสัญลักษณ์ขึ้นในสมอง การคาดคะเน สถานการณ์เหตุการณ์ขึ้นในจิตใจหรือแนวคิดเพื่อลดความรู้สึกติดขัดและความตึงเครียดที่มีอยู่ในตัวบุคคล ลักษณะของจินตนาการเพ้อฝันจะเป็นการคิดฝันโดยไม่รู้ตัว ยังตื่นอยู่ เป็นความคิดที่อิสระ เป็นการคิดที่ไม่มีแนวทาง ไม่มีจุดหมาย ไม่มีขอบเขตและการสรุปผล สิ่งเหล่านี้มีผลมาจากการได้รับแนวความคิดจาการสร้างภาพมายาคติโดยแฝงการถ่ายทอดความคิดโดยสื่อมวลชน นอกจากนี้ ภาพดาราที่ได้พบเห็นจากสื่อบันเทิงไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ นั้น เป็นเพียงภาพมายาคติที่ช่วยสร้างความสุขทางจิตใจ สร้างจินตนาการความฝันไปกับภาพอันสวยงามที่พบเห็นนั้น แต่ในความจริงแล้วภาพที่ได้พบเห็นนั้นเป็นธุรกิจบันเทิงและปัจจัยทางสังคมที่ผ่านกระบวนการทางศิลปะเพื่อโน้มน้าวจิตใจของเราเพื่อประเด็นทางการค้า และจะมีการพัฒนาควบคู่การเติบโตของเทคโนโลยีอย่างไม่จบสิ้น การมีสติและวิจารณญาณในการรับสื่อ โดยเฉพาะสื่อบันเทิงจึงเป็นหนทางที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยรู้เท่าทันและปรับใช้ได้กับชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต

References

เฉิดฉาน สาธุวงษ์. (2551). ศิลปกรรมร่วมสมัย สื่อมวลชนกับศิลปะ นักแสดง. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทองทิพา วิริยะพันธุ์. (2546.) กลยุทธ์การสร้างความโดดเด่นสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: อินฟอร์มีเดียกรุ๊ป.
เสรี วงษ์มณฑา. (2550). Branding นักการเมือง. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.
ณเดชน์ คูกิมิยะ. (2562, 29 มกราคม). ดารานักแสดง. สัมภาษณ์.
นักข่าวสายบันเทิง. (2562, 29 มกราคม). นักข่าว. สัมภาษณ์.
Balakrishnan, L. and C.S. Kumar. (2011). “Effect of Celebrity Based Advertisements on the Purchase Attitude of Consumers towards Durable Products (A study with reference to the city of Chennai)” World Review of Business Research 2(1): 98-112 .
Boon, S.D., & Lomore, C.D. (2001). Admirer-celebrity relationships among young adults: Explaining perceptions of celebrity influence on identity. Human Communication Research 27, 432–465.
Boorstin, Danial J. (1973). The Image: Guide to Psudo – Events in America. New York: Atheneum.
Cashmore, Ellis. and others(ed). (2006). Dictionary of Race and Ethnic Relations. Routledge, London.
Friedman, H. and L. Friedman. (1978). Does the celebrity endorser's image spill over the product. Journal of the Academy of Marketing Science 6: 291-299.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30