การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษามลพิษทางอากาศ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
มลพิษทางอากาศ, ผลกระทบ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษามลพิษทางอากาศ พื้นที่จังหวัดขอนแก่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณความเข้มข้นของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายสารที่ก่อเกิดมลพิษทางอากาศ เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายมลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประมาณค่าในช่วง (Interpolation) ด้วยหลักการ IDW ซึ่งแบ่งคุณภาพอากาศออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่ คุณภาพอากาศดีมาก อากาศดี ปานกลาง เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และมีผลกระทบต่อสุขภาพ จากการนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย พบว่า มีสารเพียง 3 ชนิดที่มีค่าความเข้มข้นที่ส่งผลกระบทต่อร่างกาย ได้แก่ 1) PM10 มีค่าความเข้มข้นในการแพร่กระจายสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 เท่ากับ 163.67 µg/m3 อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 2) PM2.5 มีค่าความเข้มข้นในการแพร่กระจายสูงสุดในเดือนมีนาคม ปี 2562 เท่ากับ 109.29 µg/m3 อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและมีผลกระทบต่อสุขภาพ และ 3) O3 มีค่าความเข้มข้นในการแพร่กระจายสูงสุดในเดือนมีนาคม ปี 2562 เท่ากับ 71.92 ppb อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศมีสาเหตุหลักอยู่ 3 ประการ 1) เกิดจากการเผาในที่โล่งของเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรจากอ้อยและข้าว 2) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของรถยนต์ และ 3) เกิดจากการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทาง จิระ - ขอนแก่น ผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ที่พบมากที่สุด คือผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
References
เข้าถึงได้จาก air4thai:http://air4thai.pcd.go.th /webV2/aqi_info.php
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.(2562). กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562 เข้าถึงได้จาก กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม: http://www.deqp.go.th/knowledge/
3. วิทยาลัยเทคโนโลยีพิมพ์ไทย. (2561). วิทยาลัยเทคโนโลยีพิมพ์ไทย. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562
เข้าถึงได้จาก pim-tech.ac.th: http://www.pim-tech.ac.th/web/?mode=about&menu=2&cate=data_khonkaen
4. ศิวพันธุ์ ชูอินทร์ (2553). การพัฒนาวิธีการตรวจวัดปริมาณสารมลพิษทางอากาศด้วยวิธีการแบบพาสสีพ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
5. สำนักข่าวทีนิวส์ . (2562). ขอนแก่นเผชิญวิกฤต PM2.5 อยู่ในขั้น ‘มีผลกระทบต่อสุขภาพ’. ขอนแก่น: 77kaoded.
6. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสหราชอาณาจักร. (2562). BBC NEW. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562 เข้าถึงได้จาก bbc.com: https://www. bbc.com/thai/international-46861285
7. สุเพชร จิรขจรกุล. (2560). เรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 10.5.
นนทบุรี: บริษัท เอ พี กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
8. องค์การสาธารณประโยชน์ นานาชาติ. (2562). greenpeace. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562 เข้าถึงได้จาก greenpeace: https://www. greenpeace.org/thailand/publication/3139/city-ranking-2561/
9. Pollution Control Department. (2013a). Air Pollution and Noise: Situation and Management
2012 จากสถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงปี 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล