ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกวิธีคุมกำเนิดในนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยรัฐ
บทคัดย่อ
การวิจัยโดยใช้วิธีวิทยาผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วิธีคุมกำเนิดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกวิธีคุมกำเนิดในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของรัฐแห่งหนึ่งในภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 417 คน แบ่งเป็นเพศกำเนิดชาย 154 คน (ร้อยละ 36.93) และเพศกำเนิดหญิง 263 คน (ร้อยละ 63.07) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า วิธีการคุมกำเนิดที่นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกมากที่สุดคือ การใช้ถุงยางอนามัยชาย (ร้อยละ 90.4) การงดการมีเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 58.7) กินยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 57.2) กินยาคุมฉุกเฉิน (ร้อยละ 36.6) และการหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด (ร้อยละ 32) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกวิธีคุมกำเนิด พบว่า สถานะสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อวิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ P-value = 0.014 และประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อวิธีการเลือกวิธีคุมกำเนิดทั้งแบบธรรมชาติ แบบฮอร์โมน และแบบถาวร P-value = 0.001, 0.020 และ 0.021 ตามลำดับ นอกจากนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพยังพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกวิธีคุมกำเนิดเพิ่มเติม คือ ความปลอดภัยจากการใช้วิธีคุมกำเนิดและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อิทธิพลของบุคคลรอบข้าง ความต้องการของคู่นอน การเข้าถึงผลิตภัณฑ์คุมกำเนิดได้สะดวก ราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ง่าย และวิธีที่ตนเองถนัดจากประสบการณ์ที่เคยใช้
ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในกลุ่มนักศึกษาจึงต้องให้ความรู้และรณรงค์ในการคุมกำเนิดทั้งวิธีแบบธรรมชาติและฮอร์โมนควบคู่กันโดยเน้นที่ความสะดวก ราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยใช้ประเด็นความปลอดภัยจากการใช้วิธีคุมกำเนิดและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นใจความหลักในการให้ความรู้และรณรงค์ผ่านการมีส่วนร่วมจากบุคคลรอบข้าง
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Med Thai. (2017). การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด. Retrieved from https://medthai.com/การคุมกำเนิด/
Office of Adolescent Health. (2019). Trends in Teen Pregnancy and Childbearing. Retrieved from https://www.hhs.gov/ash/oah/adolescent-development/reproductive-health-and-teen-pregnancy/teen-pregnancy-and-childbearing/trends/index.html
United Nation New York. (2015). Birth Control Around The World. Retrieved from https://onlinedoctor.superdrug.com/birth-control-around-the-world/
กองอนามัยเจริญพันธุ์. (2551). คู่มือการให้บริการวางแผนครอบครัว สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Vol. 1): โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กองอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2550). การคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมการปกครอง. (2561). รายงานสถิติข้อมูลการเกิดประจำปี พ.ศ.2561. Retrieved from https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php
ชวนชม สกลธวัฒน์. (2540). การคุมกำเนิด (4 ed.). ขอนแก่น: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นฤมล ทาเทพ. (2555). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร.
นฤมล ทาเทพและรัตน์ศิริ ทาโต. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร FACTORS PREDICTING CONTRACEPTIVE BEHAVIORS AMONG VOCATIONAL FEMALE STUDENTS IN BANGKOK. วารสาริทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี กรุงเทพ, 30(2), 1-11.
รัตติยา ชูโชติ. (2561). กํารรณรงค์กํารคุมกำเนิดในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาลยุค 4.0The Birth control Campaign in Adolescents: The Roles of Smart Nurse 4.0. วารสารพยาบาลทหารบก, 19, 42-52.
วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2560). การขับเคลื่อนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น Mobilizing Process for Teen Pregnancy Prevention. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 216-229.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุขและคณะ. (2560). ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 79-90.
อุตม์ชญาน์ อินทเรืองและคณะ. (2558a). แบบจําลองเชิงสาเหตุพฤติกรรมการคุมกําเนิดของสตรีวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(4), 43-53.
อุตม์ชญาน์ อินทเรืองและคณะ. (2558b). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการคุมกําเนิดของสตรีวัยรุ่นไทยที่ไม่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธุ์ Factors Affecting Intention toward Contraceptive Use Among Sexually Inexperienced Thai Female Adolescents.

Copyright (c) 2020 ณัฐดนัย โมรากุล, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, ปฐมพงศ์ สมคง, กฤติน อินคำปัน, ธัญชนก สวนสอน, ชุติมณฑน์ กินนร, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล