เพศภาวะของชุมชนโคกพนมดี: การตีความจากมุมมองโลกที่สาม

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ อำพันธ์ศรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์, โบราณคดีเพศภาวะ, เพศภาวะ, ชาติพันธ์วรรณาตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพอดีตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนโคกพนมดีขึ้นใหม่ โดยใช้แนวคิด “โบราณคดีเพศภาวะ” มาใช้ในการตีความหลักฐานทางโบราณคดีชุดเดียวกับชาร์ลส ไฮแอม และรัชนี ทศรัตน์ นักโบราณคดีคนสำคัญที่ทำการศึกษาและสร้างภาพอดีตของชุมชนโคกพนมดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแล้ว โดยมีสมมติฐานเบื้องต้นว่า หากใช้แนวคิดในการศึกษาตีความที่แตกต่างกันกับการศึกษาที่ผ่านมา จะสามารถตีความและสร้างภาพอดีตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไปได้ โดยเฉพาะการสร้างภาพตัวแทนของเพศหญิง “เจ้าแม่แห่งโคกพนมดี” ที่มีสถานะทางสังคมสูงกว่าเพศชาย โดยชาร์ลส ไฮแอมให้เหตุผลว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าเพศชายเนื่องมาจากเพศหญิงเป็น “ช่างปั้น” มีบทบาทสำคัญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา และการแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนภายนอก ดังนั้นเพศหญิงจึงมีของทรัพย์สินมากกว่าเพศชาย และเมื่อตายทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะถูกฝังร่วมกับเจ้าของ

            นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาทางโบราณคดีที่ใช้การ “อธิบาย” และ “ตีความ” ข้อมูลทางโบราณคดีผ่านชุดประสบการณ์ของ “ฉัน” ซึ่งเป็นการตีความบนฐานของจุดยืนของตัวเอง หรือที่เรียกว่า “auto/ethnography” หรือ“ชาติพันธ์วรรณาตนเอง” ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีความเป็น “ฉัน” มีอัตวิสัย (subjectivity) และการตัดสินคุณค่าในกระบวนการศึกษาวิจัยของฉันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยชุดประสบการณ์ บริบทเฉพาะติดตัว และตำแหน่งแห่งที่ของฉันที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ทั้งความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ เพศภาวะ เพศวิถี เป็นต้น

References

ภาษาไทย
กิตติสันต์ ศรีรักษา. 2555. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อผลิตเครื่องปั่นดินเผา: กรณีศึกษาบ้านวังถั่ว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธรรมนูญ โพธิจันทร์. 2548. เครื่องปั่นดินเผากับวิถีชุมชน กรณีศึกษาบ้านวังถั่ว อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พรบูลย์ เจริญเชื้อ. 2535. ปัจจัยที่มีผลต่อการยึดอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผา : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านวังถั่วตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. 2545 สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2549. ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวสตรีนิยม: การท้าทายกระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม. วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ 18 ฉบับที่ 2.
สุรีรัตน์ บุบผา. 2544. การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดีเกี่ยวกับระบบนิเวศของภาชนะดินเผาที่บ้านหัวบึง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และอนุสรณ์ อำพันธ์ศรี. 2562. การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณาในกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในหมู่บ้านทวันเต (Twante) เขตย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. เอกสารอัดสำเนา.
อันธิฌา แสงชัย. 2547. ความคิดเชิงสุนทรียะในศิลปะสกุลหลังสมัยใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาษาต่างประเทศ
Arthur, J.W. 2013. Transforming clay: Gamo, caste, gender, and pottery of southwestern Ethiopia. African Study Monographs, Suppl. 46: 5–25.
Bentley, R.A., Tayles, N., Higham, C., macpherson, C. and Atkinson, T.C. 2007. Shifting Gender Relations at Khok Phanom Di, Thailand: Isotopic Evidence from the Skeletons. In Current Anthropology. Vol. 48, No. 2 (April). pp. 301-314.
Higham, C.F.W. 2000. Reading the Remains. Cited 2016 Mar 18. Available from: https://www.pbs.org/wgbh/nova/icemummies/remains.html.
Higham, C.F.W. 2002. Women in the Prehistory of Mainland Southeast Asia. In In Pursuit of Gender: Worldwide Archaeological Approaches. Edited by Sarah Milledge Nelson and Myriam Rosen-Ayalon. Walnut Creek, CA: AltaMira Press.
Higham, C.F.W. and Bannanurag, R. 1990. The Excavation of Khok Phanom Di. Vol.1. London: Society of Antiquaries.
Higham, C.F.W. and Thosarat, R. 1998. Prehistoric Thailand: from early settlement to Sukhothai. London: Thames & Hudson.
Hodder, I. 1992. Theory and Practice in Archeology. London: Routledge.
Rubio, S.L. 2011. Gender Thinking in the Making: Feminist Epistemology and Gender Archaeology. Norwegian Archaeological Review, Vol. 44, No. 1.
Sariyant, T. 2002. Knowing and understanding through auto/ethnography. Graduate School of the University of Massachusetts.
Shanks, M. and Tilley, C. 1987. Social Theory and Archaeology. Albuquerque: University of New Mexico Press.
Silverblatt, I. 1988. Women in States. Annual Review of Anthropology 17: 427 – 460.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31