อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก

ผู้แต่ง

  • Metita Wiwitkul คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

อัตวิสัย, ผัสสะ, ประสบการณ์, สายให้อาหารทางจมูก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ด้านการใส่สายให้อาหารทางจมูก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่มประชากรที่มีสายให้อาหารทางจมูกมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ได้กลับไปพักฟื้นที่บ้านหรือสถานที่พักพักฟื้น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 7 ราย ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าวาทกรรมที่ว่าด้วยสายให้อาหารทางจมูกได้แก่ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การป้องกันการติดเชื้อ และแพทย์เป็นผู้รู้มากกว่า ในส่วนปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีการใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นชุดความรู้ทางการแพทย์ที่มาจากการมีข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุน แพทย์เป็นผู้ให้และยืนยันความรู้นั้น และนักกิจกรรมบำบัดกำกับผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในขณะที่อัตวิสัยต่อการใส่สายให้อาหารทางจมูกแตกต่างกันไปตามความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมก่อให้เกิดการใช้อำนาจในตนแสดงพฤติกรรมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ที่สำคัญการใส่สายให้อาหารทางจมูกกระทบต่อผัสสะด้านการรับรสชาติ และการรับสัมผัส ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งนี้พวกเขาได้บอกถึงประสบการณ์การใส่สายให้อาหารทางจมูกว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกายส่งผลต่อการใช้และการปรับตัว และยังส่งผลให้คนรอบข้างร่วมทุกข์กับผู้ใส่สายให้อาหาร จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรบอกวิธีการบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้กลืนกินทางปากให้กับผู้ป่วย และควรคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมให้บุคคลเกิดความร่วมมือที่ดีในการรักษา

 

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2560). มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21. ปาฐกถาในการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑๒ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐.
สรัญญา เตรัตน์. (2560). ผัสสะและประสบการณ์ทางผัสสะในโลกของคนตาบอด. Journal of Mekong Societies,14(2): 141-164.
Bjuresäter, K., Larsson, M., & Athlin, E. (2015). Patients’ experiences of home enteral tube feeding (HETF)–a qualitative study. Journal of Research in Nursing, 20(7), 552-565.
Green, C., & Vandall‐Walker, V. (2017). A necessary evil? Patients’ experiences receiving tube feeding in acute care. Nutrition in Clinical Practice, 32(4), 516-525.
Holmes, D., Perron, A. M., & Savoie, M. (2006). Governing therapy choices: Power/Knowledge in the treatment of progressive renal failure. Philosophy, Ethics, and Humanities in Medicine, 1(1), 12.
Kjaersgaard, A., & Kristensen, H. K. (2017). Brain Injury and Severe Eating Difficulties at Admission—Patient Perspective Nine to Fifteen Months after Discharge: A Pilot Study. Brain sciences, 7(8), 96.
Liley, A. J., & Manthorpe, J. (2003). The impact of home enteral tube feeding in everyday life: a qualitative study. Health & social care in the community, 11(5), 415-422.
Moyle, W., Anderson, C., & McAllister, M. (2002). Emotion and cardiac technology: an interpretive study. Australian Journal of Advanced Nursing, The, 20(2), 27.
Ortner, S. B. (2006). Subjectivity and cultural critique. VIBRANT-Vibrant Virtual Brazilian Anthropology, 3(1), 37-66.
Party, I. S. W. (2012). National clinical guideline for stroke (Vol. 20083). London: Royal College of Physicians.
Sadler, E., Hawkins, R., Clarke, D. J., Godfrey, M., Dickerson, J., & McKevitt, C. (2018). Disciplinary power and the process of training informal carers on stroke units. Sociology of health & illness, 40(1), 100-114.
Timmermans, S., & Berg, M. (2003). The practice of medical technology. Sociology of health & illness, 25(3), 97-114.
Vannini, P., Waskul, D., & Gottschalk, S. (2013). The senses in self, society, and culture: A sociology of the senses. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31