เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด

ผู้แต่ง

  • ตฤณห์ โพธิ์รักษา
  • อุนิษา เลิศโตมรสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นักโทษหญิง, เด็กและเยาวชน, กระทำผิดซ้ำ, ยาเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการก่ออาชญากรรมของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน

และเพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน จากนั้นจะเป็นการศึกษาเพื่อสร้างแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยก่อคดีแรกครั้งยังเป็นเด็กและ เยาวชน มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาเสพติดและการบัด อายุในขณะที่เริ่มเสพยาเสพติด และสภาพจิตใจ ข้อเสนอแนะของการวิจัยพบว่าแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิงได้แก่ การร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน และชุมชนเอง ช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ ถึงโทษของยาเสพติด มีการฝึกงานอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีการพบปะเยี่ยมเยียนสมาชิกในชุมชนจากผู้นำของชุมชนเป็นประจำ และให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมสำหรับสมาชิกที่ผิดพลาด เพื่อป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำอย่างถาวร

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2555). รายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561, 3 ตุลาคม 2562. http://www.djop.go.th/images/djopimage/DJOP61.pdf
กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. (2479). พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479, 23 สิงหาคม 2562. http://www.correct.go.th/copsura/about/Control%20Panel.htm
กรมราชทัณฑ์. (2562). สรุปข้อมูลผู้ต้องขัง ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2562, 30 สิงหาคม 2562. http://www.correct.go.th/stathomepage/
กรมราชทัณฑ์. (2562). อัตราการกระทำผิดซ้ำแยกตามการค้นหาเฉพาะ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2562),
3 ตุลาคม 2562. http://www.correct.go.th/recstats/index.php/th/searchAdvance
กองนิติการ กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบ. (2560). กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐, 23 สิงหาคม 2562. http://www.correct.go.th/osss/a13994_60.pdf
กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2560). กระบวนทัศน์การวิจัยสื่อสารมวลชน: เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และผสมวิธี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพธุรกิจ. (2561). กรมพินิจฯ เร่งปฏิรูปการศึกษาเด็กเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึก, 8 พฤศจิกายน 2562. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/804215
ชุลีพร บุตรโคตร, ชนากานต์ อาทรประชาชิต และศูนย์ข่าว TCIJ. (2556). สถิติเด็กผิดคดี'ยาเสพติดมากสุด กรมพินิจฯเร่งปรับแผน-แยกกลุ่ม ฟื้นคืนสังคม-หวังลดกระทำผิดซ้ำ, 23 สิงหาคม 2562. http://www.tcijthai.com/news/2013/01/scoop/1962
แนวหน้า. (2561). อึ้ง!เยาวชนไทยก่อคดีพุ่ง ชี้96%ป่วยทางจิตจากยาเสพติดสูงสุด, 8 พฤศจิกายน 2562. https://www.naewna.com/local/361712
บัณฑิต พิทักษ์สิทธิ์. (2556). การวิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง, 26 กันยายน 2562. http://elib.coj.go.th/managecourt/data/MC2557_17_66.pdf
ศุภชัย ปิติกุลตัง. (2556). สถานการณ์และแนวโน้ม ของครอบครัวไทย, 30 สิงหาคม 2562. http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/__21.pdf
สุดสงวน สุธีสร. (2558). อาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพร เกิดสว่าง. (2561). และมันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป : เรื่องของ จุดเปลี่ยนชีวิต หรือ Turning Point, 26 กันยายน 2562.
http://johjaionline.com/opinion/van-gogh-และจุดเปลี่ยนชีวิต-turningpoint
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓, 23 สิงหาคม 2562. http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C803 /%C803-20-2553-a0001.pdf
อมรา สุนทรธาดา. (2560). คุกโลกแน่น ผู้คนแห่เข้า, 23 สิงหาคม 2562. https://www.thairath.co.th/news/society/1007190
อมรา สุนทรธาดา และกมลชนก ขําสุวรรณ. (2557). การสร้างครอบครัวไทยในมิติการเปลยี่นผ่านทางประชากรรอบสอง, 30 สิงหาคม 2562. http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/AnnualConference/ConferenceX/Download/PPT/03-AMARA-FamilyFormation_1July2014.pdf
อัณณพ ชูบำรุง และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
The Thaiger & The Nation. (2018). Asia’s prison populations – Thailand #10 in the world, 23 August 2019. https://thethaiger.com/news/asias-prison-populations-thailand-10-world
World Prison Brief [WPB]. (2019). World Prison Brief data, 28 August 2019. https://www.prisonstudies.org/country/thailand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31