The Thai Government's Management of Migrant Workers: A Case Study of the MOU between Thailand and Myanmar Migrant Workers
คำสำคัญ:
Myanmar, Burmese worker, migrant worker, worker-management, memorandum of understanding, MOU on migrant workerบทคัดย่อ
ในปี 2546 รัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างงานแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการระบบการนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฏหมาย งานวิจัยนี้ศึกษาปัญหาระบการนำเข้าแรงงานผ่านระบบ MOU เพื่อระบุปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการนำเข้าแรงงานผ่านระบบ MOU งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง-(Semi-structured-Interview)-โดยคัดเลือกผู้ให้สัมภาษณ์-9-คน ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานชาวเมียนมา โดยเป็นแรงงานเมียนมาถูกกฏหมาย 5 คน และเจ้าหน้าที่รัฐ 4 คน จากกระทรวงแรงงาน และกระทรวงกลาโหม ผลจากการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะบริหารจัดการ ในการนำเข้าแรงงานถูกกฏหมาย ผ่านกระบวนการ MOU เพื่อแก้ปัญหาสังคม การค้ามนุษย์ และมีการกำหนดสัญญาจ้างงานที่มีความโปร่งใส ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ปัญหาของการดำเนินการนำเข้าแรงงานผ่านระบบ MOU มี 3-ประเด็น คือ ระบบ MOU มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีราคาแพงและไม่มีการควบคุม และการที่รัฐไม่มีความเด็ดขาดในการกำหนดการลงทะเบียน หลังจากมีการใช้งานระบบ MOU รัฐบาลมีการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการจัดการประชุมกหารือแบบทวิภาคี การพิจารณาขยายเวลาบังคับให้แรงงานลงทะเบียนผ่านระบบ MOU และการแก้ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบของบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการบริหารแรงงานต่างด้าว 2 แนวทาง เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการนำเข้าแรงงานนี้ แนวทางแรกคือ รัฐบาลของประเทศไทยและเมียนมา ต้องปรับปรุงรายละเอียดของ MOU เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง รัฐบาลต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบ และหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นการกำหนดการดำเนินการ ค่าใช้จ่าย และการบริหารจัดการที่เหมาะสม แนวทางที่สองคือ การเพิ่มการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบ MOU เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนการจ้างงานถูกกฏหมายในประเทศไทย
References
Foreign Workers Administrative Office, Ministry of Labor. (2018). Guidelines for bringing migrant workers to work with employers in the country according to the memorandum of understanding (MOU) on employment corporation between Thailand and Myanmar. Retrieved on 1 Dec 2019 from https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/hrad_th/ 18904740849b83978141dc2f17efe3d6.pdf.
Fuctong, T. (2016). Myanmar workers and Thailand economy today. Retrieved on 1 Dec 2019 from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637907.
Girdkum, K. (2005). The obstruckle of measure on illegal migrant worker interception: a case study of Sangklaburi district, Kranjanaburi province. Chonburi: Burapha University.
Rathanaborirak, B. (2011). Status and problem of social-economic of migrant labor in Thailand: A case study of Burmese labor. TRF Policy Brief. 2(6).
Prachachart (2017). Retrieve on 30 Mar 2020 from https://www.prachachat.net/economy/news-11515.
Pruekudom, S. (2019). The operation of joint service center for migrant workers in Songkla province. Retrieve on 1 Feb 2019 from http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/ TCATG190309075759442.
Sinauay, P. (2019). Arrestment of migrant worker who compete for Thai occupation. Retrieve on 1 Feb 2020 from https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1506834.
Sirimachan, P. (2013). Migrant worker problems of three nationalities in Thailand. Bangkok: Office of the National Security Council.
Sawangkarn, S. (2017). Bribe of migrant workers corruption. Retrieve on 30 Mar 2020 from https://www.springnews.co.th/politics/65256.
Taotawin, P., and Satrakom, S. (2011). MOU for transnational labor employment neoliberalism, labor protection, and adjustment of the state’s regulation strategy. Journal of Mekong Societies. 7(3), 1-26.
Trimek, J., Poonyarith, S., and Siriwato, S. (2017). Analysis of trends and impacts on offense in Thailand of migrant labor from entering the ASEAN community. Bangkok: Rangsit University.
United Nations Thailand Working Group on Migration. (2019). Thailand migration report 2019 Bangkok: International Migration for Migration.
U.S.Embassy and Consulate in Thailand, Human trafficking report 2019. Retrieved on 20 Mar 2020 from https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2019-trafficking-persons-report-thailand-th/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล