การศึกษาตัวแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขภาพระดับพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาตัวแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข ที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขภาพระดับพื้นที่ ของจังหวัดปทุมธานี โดยแบ่งการวิจัยเป็นสามระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาความท้าทายในบทบาทของอาสาสมัครอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในยุคปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยเอื้อ หรืออุปสรรค ในการทำงาน และแนวทางการส่งเสริม/พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข ที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขภาพระดับพื้นที่ โดยรูปแบบการวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระยะที่ 2 สร้างตัวแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข ที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานด้านสุขภาพระดับพื้นที่ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และระยะที่ 3 ทดสอบตัวแบบในพื้นที่บริบทเขตเมือง ที่ตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี และเขตชนบท ที่ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำตัวแบบดังกล่าวไปใช้ อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพตำบล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิต โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ทั้งสองตำบล ได้จัดสรรเป้าหมายการดำเนินงานให้สอดคล้องกับจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุข และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานทั้งสองโครงการ อย่างเต็มที่ และมีผลการจัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคไข้เลือดออก ทั้งสองพื้นที่อยู่ในระดับสูง โดยตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี มีผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โรคเบาหวาน ร้อยละ 95.2 และผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 96.7 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออกในตำบล ส่วนตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โรคเบาหวาน ร้อยละ 82.4 และผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 79.9 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออกในตำบลเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานด้านสุขภาพระดับพื้นที่ ภาพรวมร้อยละ 82.5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง
ข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาตัวแบบและเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน โดยการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการพัฒนาทั้งหมด ดังนั้น ในการทำวิจัยครั้งต่อไป จึงควรมีการศึกษาเชิงลึกเปรียบเทียบบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข ที่ได้รับการพัฒนาตามตัวแบบดังกล่าว ว่ามีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองในรายบุคคลและครัวเรือนของชุมชนอย่างไร เพื่อนำไปประกอบการวางแผนการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขในอนาคตต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2550). มาตรฐานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. [ออนไลน์]. (2550, 11 กุมภาพันธ์).
กฎหมายหลัก “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540”. เข้าถึงได้จาก http://www.local.moi.go.th/law1.htm[2550.
กาญจนา แก้วเทพ. (2540). องค์กรชุมชน กลไกเพื่อแก้ ปัญหาและพัฒนาสังคม.ขอนแก่น. บริษัท แปลน พริ้นติ้ง จำกัด.
เจตน์ อินสองใจ. (2550). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออกตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทศบาลตำบลตำบลแหลมฉบัง. (2548). คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุข. ชลบุรี: กองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม.
นภาภรณ์ จันทร์ศัพท์ และคณะ. (2549). วิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
นาถือ มะโนขันธ์. (2548). การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ในเขตชนบท จังหวัดมุกดาหาร ปี2548. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาสาธารณสุข อาเซียน
มหาวิทยาลัยมหิดล.
เนรมิต จันทร์ทอง. (2550). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษา
กรณีตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพรวัลย์ เตชะโกศล. (2546).การจัดการสุขภาพของชุมชน ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริศนา โชคพิพัฒน์. (2551). การศึกษาการได้รับการสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติงาน
ตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลทบักวาง อำเภอ
แก่งคอยจังหวัดสระบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาวชิาการปกครองท้องถิ่น
สุจินดา สุขกำเนิด. รายงานการประเมินผล “ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและการดำเนินงาน
หมู่บ้านจัดการสุขภาพ” โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.2549
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สรุปผลการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน , 2549.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สรุปผลการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน , 2550.
สุวรรณี แสนสุข. รายงานการศึกษาการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพจังหวัดยโสธร ปี 2551 .
วารสารสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.ปีที่3,ฉบับที่2(ธันวาคม 2550-มกราคม 2551),
หน้า 14-21
อุไรรัตน์ ศรีสม. การประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพจังหวัดหนองคาย ปี 2550 .
วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน. ปีที่ 22 ฉบับที่ 11 (กรกฎาคม-มิถุนายน 2551), หน้า 37-46
Website
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์; Komatra Chuengsatiansup; สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; Society and
Health Institute; (1 สิงหาคม 2562)
http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1471?locale-attribute=th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล