พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กัญธณิฌาศ์ วัฒน์พานิชกุล คณะสังคมสาสตร์และมนุษยศาสร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ :พฤติกรรม/การจัดการขยะมูลฝอย/เทศบาลนครสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย รวมถึงศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนของครัวเรือนๆ ละ 1 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 392 ครัวเรือน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบและใช้แผนผังชุมชน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด สถิติการทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 กลุ่ม (t-test) และสถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในภาพรวม พฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย พฤติกรรมการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย และพฤติกรรมการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อยู่ในระดับต่ำ มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับต่ำ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง มีความตระหนักต่อคุณค่าของสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในภาพรวม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ความตระหนักต่อคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ภาวะสุขภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร คือ 1) ประชาชนยังขาดความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยและมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนยังไม่ถูกต้อง 2) ประชาชนขาดความร่วมมือในการคัดแยกขยะมูลฝอย เนื่องจากยังไม่ให้ความสำคัญและไม่เล็งเห็นถึงประโยชน์จากการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนตั้งแต่ต้นทาง 3) จำนวนของถังขยะที่รองรับขยะมูลฝอยภายในชุมชนมีไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นและไม่มีถังขยะสำหรับแยกประเภทขยะมูลฝอย และ 4) รถเก็บขนขยะของเทศบาลมาเก็บขยะมูลฝอยไม่ตรงเวลา
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ เทศบาลควรเพิ่มการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้ครัวเรือน ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้ครัวเรือนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ควรร่วมมือกับผู้นำชุมชนในการแนะนำข้อมูลหรือจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน โดยให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ และควรมีการเพิ่มจำนวนถังขยะรองรับขยะมูลฝอย และถังขยะแยกประเภทภายในชุมชนสำหรับให้ประชาชนคัดแยกขยะมูลฝอยในเบื้องต้น

References

กิตติ ชยางคกุล. (2553). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย: ศึกษากรณีการจัดการขยะ มูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 153-164.
กัลยาณี อุปราสิทธิ์. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(2), 163-171.
ชุตินันท์ จีรวะรวงศ์และดนุพล หุ่นโสภณ. (2558). ทัศนคติ บรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย และระดับความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค.วารสารวิทยาการจัดการ, 32(1), 65-90.
ชุลีกรด่านยุทธศิลป์. (2561). แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 132-141.
ปรเมศร์ นิวาสประกฤติ. (2554). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุสุมาลย์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
ปรียาพร พรมพิทักษ์. (2559). การมีส่วนร่วมเพื่อการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
ลักษวรรณ โกมาสถิตย์. (2556). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
วรชัย ทองไทย และสุรีย์พร พันพึ่ง. (2550). ประชากรและสังคม 2550.พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภษร วิเศษชาติ, สมบัติ ศิลา, และสุนิศา แสงจันทร์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้าเย็น จังหวัดสระแก้ว.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(2), 422 – 433.
สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2561). แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2561- 2565) (ฉบับทบทวน) จังหวัดสมุทรสาคร.[เว็บบล็อก].สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก http://www.samutsakhon. go.th/2014-01-05-08-40-35/2014-01-11-04-07-22
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. [เว็บบล็อก].สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, จาก http://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน.[เว็บบล็อก].สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561,จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/
Avinash, P., Manoj, K., &Eonkar, J. (2008).Solid-waste management in Jalandhar city and its impact on community health. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine, 12(2), 76–81.
Klinck, B.A. & Stuart, M.E. (1999). Human health risk in relation to landfill leachate quality (British Geological Survey : Technical report, WC/99/17). Keyworth UK: British Geological Survey.
Sarkar, U., Hobbs, S.E., &Longhurst, P. (2003).Dispersion of odour: a case study with a municipal solid waste landfill site in North London, United Kingdom. Journal of Environmental Management, 68(2)} 153–160.
Schrapp, K., & Al-Mutairi, N. (2010).Associated Health Effects among Residences NearJeleeb Al-Shuyoukh Landfill. American Journal of Environmental Sciences, 6 (2), 184-190.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01