การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ภคมน ปาลสุวรรณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม / อนุรักษ์แหล่งน้ำ / ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำและศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยกระตุ้น รวมถึงศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชน ต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนของหัวหน้าครัวเรือนที่สามารถให้ข้อมูลได้ โดยบุคคลนั้น จะต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่บริเวณตลาดน้ำจำนวน 352 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์ผันแปรทางเดียว(One-Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมการอนุรักษ์แหล่งน้ำอยู่ในระดับต่ำ (85.20) และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในแต่ละขั้นตอนพบว่าการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์แหล่งน้ำในขั้นตอนการกำหนดแผนอยู่ในระดับต่ำ (83.00) มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำ (81.00) มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในขั้นตอนการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับต่ำ (71.60) มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในขั้นตอนการประเมินผลอยู่ในระดับต่ำ (77.80) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยกระตุ้นที่มีความแตกต่างกัน ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีความแตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพ รายได้ครัวเรือนต่อปี สถานภาพหรือการมีตำแหน่งในชุมชน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ความรู้การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และการให้คุณค่าการอนุรักษ์แหล่งน้ำ มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ ปัญหาอุปสรรค ในการอนุรักษ์แหล่งน้ำของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก คือ 1) ประชาชนส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในระดับต่ำ เนื่องจากการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งน้ำยังไม่ทั่วถึง 2) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์แหล่งน้ำของประชาชนชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวกอยู่ในระดับต่ำ (78.40) เนื่องจากวิธีประชาสัมพันธ์รวมถึงช่องทางแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวกอาจไม่เหมาะสมกับประชาชนชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หน่วยงานผู้รับผิดชอบควรจัดการรณรงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วย กันรักษาความสะอาด กำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับร้านค้าที่อยู่ติดคลอง ให้ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด วางกฎระเบียบสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนปฏิบัติ และขอความร่วมมือให้ทุกคนอนุรักษ์แหล่งน้ำ

 

References

จังหวัดราชบุรี. (2557). แผนพัฒนาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561,
เข้าถึงได้จาก http://www.ratchaburi.go.th/datass/2557/floatingmarket57-59.pdf
เทศบาลตำบลดำเนินสะดวก. (2547). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก พ.ศ.
2557-2559. ราชบุรี: สำนักงานเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก.
ปราโมทย์ ไม้กลัด.(2557). ทางออกการบริหารจัดการน้ำของไทย. กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา: สถาบันวิจัย
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
https://tdri.or.th/water/thaipublica20140309/
ราตรี โตเพ่งพัฒน์. (2543). ตลาดน้ำ : วิถีชีวิตของเกษตรกรภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 (2561). ส่วนเฝ้าระวังและเตือนภัย. จังหวัดราชบุรี.
Cohen John M & Norman T. Uphoff. (1977). Rural Development Participation : Concepts and
Measure for Project Design Implementation and Evaluation. New York : The Rural Development Committee Center for International Studies Cornell University.
Rogers E.M. (1973). Communication Strategies for Relation Planning. New York : The Free.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01