หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม : กรณีศึกษา สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร บำรุงแจ่ม โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ความสอดคล้อง, หลักพุทธธรรม, การดำเนินชีวิต, ผู้ปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักพุทธธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรมในสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง และศึกษาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดและหลักพุทธธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตมาจากการนำบุคคลในพระไตรปิฎกมาเป็นแบบอย่างโดยใช้หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎก เช่น อุบาสกธรรม 5 อารยวัฒิ 5 เป็นต้น 2) มีความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมในเชิงระบบตาม 3 องค์ประกอบ กล่าวคือ ปัจจัยนำเข้า เช่น การมีผู้นำ สถานที่ บทเรียนหลักพุทธธรรมเบื้องต้น เป็นต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับปัจจัยนำเข้าของโครงการด้านสุขภาพต่างๆ เช่น นโยบาย แนวทางปฏิบัติ กระบวนการ หมายถึง  การปฏิบัติด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามกิจกรรมหรือแผนการดำเนินกิจกรรม เช่น การศึกษาหลักพุทธธรรมเบื้องต้น การเข้าร่วมกิจกรรมของสถานปฏิบัติธรรม เป็นต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับการรณรงค์โครงการด้านสุขภาพ การอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ และผลลัพธ์ ที่หมายถึง ความสำเร็จของโครงการ เช่น ผลลัพธ์ด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านปัญญา ด้านสังคม ซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์ความต้องการของโครงการด้านส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม การศึกษาแนวคิดและหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ทำให้ทราบถึงความลุ่มลึกในการเชื่อมโยงกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมที่สามารถนำผลไปประยุกต์เป็นอีกทางเลือกโดยหน่วยงานบริการสุขภาพต่างๆ ได้

References

พระมหาอุดร สุทธิญาโณ. (2554). ศึกษาสุขภาพแบบองค์รวมวิถีพุทธในพระไตรปิฎก. สารนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สารศิา สสัสนิทร. (2559, มกราคม-เมษายน). ภาวะตื่นรู้เชิงพุทธบรูณาการ. วารสารสวนปรุง, 32(1), 54-65.
ภินันท์ สิงห์กฤตยา. (2553). ศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนทัศน์และกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์(โรคเรื้อรัง). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559. จาก http://www.hfocus.org/node/4655.
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. (2554). สุขภาพคนไทย 2554: พฤติกรรมสุขภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย 2559: พฤติกรรมสุขภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).
อุ่นเอื้อ สิงห์คำ. (2555). กระบวนการและผลกระทบของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พระไพศาล วิสาโล. (2550). สุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม. ใน ศูนย์การประชุม IMPACT เมืองทองธานี: การประชุมวิชาการประจำปีการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่ 8. นนทบุรี: เอ็นเอ็นเคที จำกัด.
Churchill’s illustrated medical dictionary. (1989). Churchill’s Medical’s dictionary. New York: Churchill Livingstone.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบบปรับปรุง พ.ศ. 2541. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิตา. (2541). การแพทย์นอกระบบ : 177 ทางเลือกไปสู่สุขภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: สาระ.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และปกเจริญผล.
พระมหาชัยวัฒน์ อภิญาณจารี (สิงห์โงน). (2541). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของนางวิสาขามหาอุบาสิกาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2541). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสฐียร พันธรังสี. (2553). พุทธสถานในชมพูทวีป. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01