การวิเคราะห์การแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นเรื่อง “เด็กหญิงอีดะ”

Main Article Content

อัจฉรา อึ้งตระกูล
Hitomi Yuri
เพ็ญวารี วิจิตรเวชไพศาล
สมชาย ไชยเขตธนัง
วรพล น้อยนิล
อินท์ชัญญา คงทะเล

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์การแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นเรื่อง “เด็กหญิงอีดะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปลโดยใช้ทฤษฎีศึกษางานแปล รวบรวมข้อมูลจากคู่แปลเรื่อง futari no iida(ふたりのイーダ) ต้นฉบับในภาษาญี่ปุ่นเขียนโดย Matsutani Miyoko(松谷みよ子) และฉบับแปลเป็นภาษาไทยเรื่อง “เด็กหญิงอีดะ” โดยผุสดี นาวาวิจิต การวิเคราะห์การแปลครั้งนี้ใช้ทฤษฎีวิเคราะห์การแปล 2 ทฤษฎี คือ 1) Translation-oriented text analysis ของ Christiane Nord (2005) และ 2) House’s model of translation quality assessment ของ Juliane House (2001)  ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่อง “เด็กหญิงอีดะ” มีแนวโน้มที่จะเป็นงานแปลแบบเครื่องมือมากกว่างานแปลแบบเอกสาร และเป็นวรรณกรรมที่มีลักษณะร่วมของการแปลแบบเปิดให้เห็นต้นฉบับและการแปลแบบปกปิดต้นฉบับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Catford, J. C. (1965). A Linguistic Theory of Translation. London. Oxford University Press.

House, J. (2001). Translation Quality Assessment: Linguistic Description versus Social Evaluation.

Newmark, P. (1981). Approaches to Translation. Oxford: Pergamon Press.

Nord, C. (2005). Text analysis in translation: Theory, methodology, and didactic application of a model for translation-oriented text analysis (2nd edition). New York: Rodopi.

พจนานุกรมญี่ปุ่น-ไทย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2546). กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

Kodansha's Compact Kanji Guide (ฉบับภาษาไทย). (2550.) กรุงเทพฯ: คิโนะคูนิยะ บุ๊คสโตร์ (ประเทศไทย)