การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนวรรณคดี ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่าง พ.ศ. 2550-2565

ผู้แต่ง

  • สถาพร ปุ่มเป้า วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์, งานวิจัยการสอนวรรณคดี, ระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยนเรศวร ช่วงปี พ.ศ. 2550–2565 โดยข้อมูลที่ได้นำมาศึกษา ได้แก่ งานวิจัยของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550–2565 รวมจำนวนทั้งสิ้น 55 เรื่อง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย คือ 1) สำรวจและรวบรวมข้อมูลงานวิจัย
2) บันทึกข้อมูลลงในตารางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ประเภท ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ ผลตัวแปรตาม เครื่องมือที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปแยกตามประเด็นที่วางไว้ และหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ และ 5) วิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนวรรณคดี

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการผลิตงานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีมากที่สุด จำนวน 31 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 56.36 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์/ความสามารถ/ทักษะ มากที่สุด จำนวน 68 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 43.87 และตั้งวัตถุประสงค์ 3 ข้อหลัก คิดเป็นร้อยละ 58.18
    3) เป็นการวิจัยเชิงทดลองมากที่สุด จำนวน 50 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 90.90 4) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 26 เรื่อง
    คิดเป็นร้อยละ 47.27 และผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายมากที่สุด จำนวน 38 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 69.09 5) นักวิจัยใช้นวัตกรรมด้านรูปแบบมากที่สุด จำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 31.76 6) มีตัวแปรตามด้านเจตคติมากที่สุด จำนวน 45 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50.56 7) งานวิจัยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิจัยมากที่สุด จำนวน 50 ชุด คิดเป็นร้อยละ 64.93 และใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
    มากที่สุด จำนวน 41 ชุด คิดเป็นร้อยละ 39.04 8) เนื้อหาวรรณคดี
    อยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 3 มากที่สุด จำนวน 40 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 43.5
    และ 9) นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบ t-test (One sample test) มากที่สุด จำนวน 39 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 54.92
  2. งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีของมหาวิทยาลัยศิลปากร มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบวิธีการสอนเป็นสำคัญ เพื่อให้ครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญในการสอน ส่วนมหาวิทยาลัยนเรศวร ก็พบในลักษณะเช่นเดียวกันแต่มีการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้น ทิศทางและแนวโน้มการวิจัยจึงมุ่งพัฒนาการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัย และมีความแปลกใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในบริบทยุคสังคมดิจิทัล

References

Faculty of Education, Naresuan University. (2018). Curriculum details (Mor.Khor.Or.2) Master of Education, Thai language teaching major (revised curriculum 2018). Naresuan University.

Faculty of Education, Silpakorn University. (2019). Curriculum details (Mor.Khor.Or.2), Master of Education, Thai language teaching major (revised curriculum 2019). Silpakorn University.

Kasmankit, K. (2015). Thai literature in 100 years of Wannakadee samosorn. Office of Literature and History, Fine Arts Department.

Khaemmanee, T. (2023). Arta of Teaching. Knowledge for organizing an effective learning process, 26th edition, Chulalongkorn University.

Khongkhon, N. (2021). Development of learning achievement in literature. “Kap Hor Klong Prapas Than Thong Daeng” by organizing learning using CCT - THINKING SCHOOLS MODEL with Computer Assisted Instruction (CAI) lessons through an application on a mobile phone for Mathayom students. Independent study, (Master of Education, Naresuan University).

Khunmathurot, S., Feepakproe, S., Kaison, Y., & Poompao, S. (2020). Synthesizing research on Thai language teaching of graduate level. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1). 295-308.

Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand., Limited.

Na Phikun, S. (2014). Synthesis of master's thesis, Faculty of Education, Chiang Mai University, 2009-2011. (Master of Education thesis, Chiang Mai University).

Phuengjit, I. (2022). Management of learning using literature as a base together with REAP strategies to promote analytical thinking abilities of Matthayom 5 students. Independent study. (Master of Education, Naresuan University).

Phuwiphadawat, S. (2008). Teaching principles for student development and assessment according to actual conditions. Duangkamon Publishing.

Pornkul, Ch. (2008). Designing teaching to integrate reading, analytical thinking, and writing. Chulalongkorn University.

Raksapun, P. (2003). Synthesis of theses on Thai sports in education 1990-2002. (Master of Education Thesis, Khon Kean University).

Rodlek, K. (2012). Development of computer assisted instruction lessons, Thai language department, Mathayom 6 level on

“The Sepa Khun Chang Khun Phaen Torn Khun Chang Thawai Deeka”. (Master of Education Thesis, Silpakorn University).

Secretariat of the Cabinet. (2023). Policy statement of the Cabinet, Mr. Srettha Thavisin, Prime Minister, announced to Parliament. 1st edition. Cabinet and Royal Gazette Publishing.

Suriyamonthon, Ph. (2022). Synthesizing graduate research, Curriculum and Instruction major, Faculty of Education, Ching Mai University, academic year 2005-2015, Journal of Curriculum and Instruction, Chiang Mai University, 1(1), 14-31.

Waenphet, P. (2017). Development of literature achievement of Mathayom 3 students using inquiry-based teaching methods combined with mind map techniques. (Master of Education Thesis, Silpakorn University).

Wiboonyasarin, W. (2014). Innovation and media for teaching Thai language. 2nd edition. Chulalongkorn University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13