การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้บทอ่านวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • Yutthichai Uppakandee -

คำสำคัญ:

การอ่านจับใจความ, SQ4R, 5W1H

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้บทอ่านวรรณกรรมท้องถิ่น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการ  จัดการเรียนรู้รูปแบบดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้บทอ่านวรรณกรรมท้องถิ่น, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ ส่วนการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และนำคะแนนมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียน โดยทดสอบค่า t – test แบบ Dependent วิเคราะห์ความพึงพอใจโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้บทอ่านวรรณกรรมท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.39 และ S.D. = 0.65)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-24

How to Cite

Uppakandee, Y. (2022). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยใช้บทอ่านวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. FOYER: The Journal of Humanities, Social Sciences, and Education, 5(1), 1–26. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/lajournal/article/view/254118