ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมข้าว, ประวัติศาสตร์คลองโยง, ภูมิปัญญาการทำนาบทคัดย่อ
ชุมชนตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีคลองโยงเป็นสายน้ำหลักของชุมชน ส่งผลให้เกิดการทำเกษตรในพื้นที่ทั้งสองฝั่งคลอง จึงเกิดการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมข้าวกันต่อเนื่องมาปรากฏเป็นวรรณกรรมตำราชุดพรหมชาติ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยงจากประวัติศาสตร์บอกเล่า และแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร๋วัฒนธรรมข้าวของชาวตำบลคลองโยง ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งเป็น 1) ความรู้เรื่องการปลูกข้าวทำนา 2) ความรู้เครื่องมือและสัตว์ที่เกี่ยวกับการทำนา 3) ความรู้เรื่องประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับข้าว ส่วนด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมข้าวของชาวคลองโยงแบ่งได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ 1) ยุคแรกเริ่มป่าไม้ชายนา 2) ยุคพัฒนาที่นาพระราชมรดก 3) ยุคการสำรวจดินสู่การเกษตรยุคใหม่ 4) ยุคนาข้าวสู่นาบัว และ 5) ยุคนาโฉนดชุมชน องค์ความรู้และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวคลองโยงในมิติวัฒนธรรมข้าวนี้สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของสังคมชาวคลองโยงที่เป็นสังคมชาวนาในที่ราบลุ่มริมน้ำ มีพัฒนาการและการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง มีต้นทุนทางภูมิศาสตร์ที่ดีทั้งดินและน้ำส่งผลให้ข้าวคลองโยงจึงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาที่รู้จักกันในนาม “ข้าวหอมนครชัยศรี”