จริยธรรม
จริยธรรมในการเผยแพร่บทความวารสาร
FOYER: The Journal of Humanities, Social Sciences, and Education ดำเนินการเผยแพร่วารสารวิชาการออนไลน์ โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งผลงานวิชาการและผลงานวิจัยสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน (Author)
- ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาพิจารณาเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใด
- ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และผลงานไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรใด ๆ
- ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตนเอง
- ผู้เขียนร่วมที่มีชื่อปรากฏในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความจริง
- ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
- ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหา วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และความเข้มข้นทางวิชาการ
- ผู้ประเมินบทความควรตระหนักว่าหากตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติ และไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
- ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากพบว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความมีการลอกเลียนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยปราศจากการอ้างอิงผลงาน
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editor)
- บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองและพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของตนเอง
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในระยะเวลาของการประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ จนกว่าบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
- บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความเพื่อมาตีพิมพ์เผยแพร่หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ และนโยบายการตีพิมพ์เผยแพร่ของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และกองบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในบทความอย่างจริงจัง ด้วยโปรแกรมที่มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการต้องระงับกระบวนการประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ และติดต่อผู้เขียนหลักทันที เพื่อขอคำชี้แจงในการประกอบการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่บทความนั้น