การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ธนัณชัย สิงห์มาตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตร บธ.บ.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุพจน์ เกตุดาว อาจารย์ประจำหลักสูตร บธ.บ.(การจัดการ)คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • พัชราภรณ์ ฉายบุญครอง อาจารย์ประจำหลักสูตร บธ.บ.(การจัดการ)คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วิชา เลี่ยมสกุล อาจารย์ประจำหลักสูตร บธ.บ.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร บธ.บ.(การบัญชี) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์ความรู้ , ภูมิปัญญาท้องถิ่น , ความเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคามทั้ง 13 อำเภอ จำนวน 440 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า การตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์และอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า การพัฒนาองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน มีค่าเท่ากับ 1.60 ซึ่งตัวแปรการพัฒนาองค์ความรู้สามารถอธิบายได้ดังนี้ ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ การถ่ายทอดความรู้  รองลงมา คือการพัฒนาขีด และประสบการณ์การทำงาน ตามลำดับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน  มีค่าเท่ากับ 0.81 ซึ่งตัวแปรศักยภาพในการแข่งขันสามารถอธิบายได้ดังนี้ ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้  รองลงมา คือ วัฒนธรรม  และการพึ่งตนเอง ตามลำดับ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามไปสู่การแก้ปัญหา และการพัฒนาความรู้ความสามารถของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามให้สูงขึ้น การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามควรให้ความสำคัญต่อภาวะผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามให้มากขึ้น  ตามแบบจำลอง TWS Framework

References

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2554). ข้อมูลการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ หลุดจากกับดัก ขยับสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Acs, Szerb, & Lloyd, (2017). Global Entrepreneurship Index 2017. Springer Briefs in Economic, 1-255.

Best,J.W.(1970).Research in education.Englwood Cliffs. NJ: Prentice-Hall.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychology testing. New York: Harper and Row.

Hair,J.F.et al.(2010).Multivariate Data Analysis.(7th ed). New York: Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30