การจัดการโซ่อุปทานของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การจัดการโซ่อุปทาน , ผู้ประกอบการ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการจัดการโซ่อุปทานของกลุ่มผู้ประกอบการเชิงสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของโซ่อุปทานธุรกิจบริการสุขภาพกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ กลุ่มอาศรมสุขภาพ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มเกษตรกร 9 ราย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มอาศรมสุขภาพ 15 ราย แปรรูปและจำหน่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ประธานทั้ง 2 กลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม พบว่า 1) การวางแผน ทั้งสองกลุ่ม ไม่มีการวางแผนการ ไม่มีการจดบันทึกข้อมูล 2) การจัดซื้อจัดหา สมุนไพรขยายพันธ์จากต้นเดิม กลุ่มอาศรมสุขภาพซื้อสมุนไพรจากเกษตรกร การบูร และเมนทอล จากตลาด 3) การผลิต ทั้งสองกลุ่มมีความชำนาญและประสบการณ์ 4) การขนส่ง ทั้งสองกลุ่มจะใช้การขนส่งโดยรถจักรยานยนต์เป็นหลัก 5) การส่งคืน กลุ่มอาศรมสุขภาพมีการส่งคืนสมุนไพรเนื่องจากไม่ตรงตามต้องการ 6) การสนับสนุน ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ นอกจากนั้น พบว่า ในพื้นที่ มีสำนักสงฆ์เทวราชเขาคมตั้งอยู่บนภูเขาทำให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม ทางกลุ่มมีประสบการณ์และความพร้อมในการนวดและการแปรรูปจากสมุนไพร จึงมีการอบรมทฤษฎีเรื่องมาตรฐานการจัดการบริการในสถานประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า การดำเนินงานยังคงประสบปัญหาในหลายด้าน เช่น อาคารสถานที่ มาตรฐานการบริการ การพัฒนาสินค้าและบริการ การขาดแคลนบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเข้าถึงแหล่งทุน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสิ่งที่ขาดมากที่สุด คือ การจัดการและความเชื่อมโยงกิจกรรมกับเกษตรกร ตลาด กลุ่มอาศรมสุขภาพ และผู้บริโภค มุ่งเน้นในด้านสินค้ามากกว่ากระบวนการดำเนินงาน
References
การจัดการโซ่อุปทาน. (2560). การจัดการโซ่อุปทาน. เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน. เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม
, จาก https://www.iok2u.com
จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2561). มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย.
เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2565, จากhttps://agkb.lib.ku.ac.th/BKN_AGRI/
search_detail/result/402831
จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2565). การศึกษาแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (SCOR Model)
กรณีศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มจิ้งหรีด ชุมชนบ้าน แสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นไทย. เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/
ชาคริต กุลไกรศรี. (2562). ระบบต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องกับ ERP. เข้าถึงเมื่อ 10
สิงหาคม 2565, จาก https://msit5.wordpress.com/2013/09/26/
มงคล พัชรดำรงกุล. (2561). กลั่น SCOR Model เพื่อการจัดการโซ่อุปทานให้เรียนรู้และเข้าใจ.
เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก http://naitakeab.blogspot.com
ธนวัฒน์ ศรีติสาร. (2561). ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ : สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2565, จาก
https://www.agi.nu.ac.th/nred/Document
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2560. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ศูนย์ความเป็นเลิศทาง
การแพทย์. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก http:// https://spd.moph.go.th/wp-
content/uploads/2022/09/1.-medical-excellence-centers.pdf