การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและครูปฐมวัยต่อการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ทิพจุฑา สุภิมารส สิงคเสลิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิสุทธิ์ ขันศิริ นักวิชาการอิสระ
  • พัชรา พานทองรักษ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • เพ็ญนภา วัยเวก เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • นริศรา ระโส ครูโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, การใช้สื่อดิจิทัล , การมีส่วนร่วม , ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย , ครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยต่อการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย และ 2) การมีส่วนร่วมของครูปฐมวัยต่อการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 255 คน และครูปฐมวัย จำนวน 135 คน จากโรงเรียนระดับปฐมวัย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi -stage sampling technique) ให้สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันตามขนาดเมืองที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน และกระจายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทุกภาคของประเทศ

               ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยต่อการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองมีส่วนร่วมขณะที่บุตรหลานใช้สื่อดิจิทัล โดยผู้ปกครองดูอยู่ห่าง ๆ ในระยะสายตา และผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำเมื่อบุตรหลานต้องการ การมีส่วนร่วมของครูปฐมวัยต่อการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัยไทย ครูคอยให้คำแนะนำเมื่อเด็กปฐมวัยต้องการ เด็กปฐมวัยใช้สื่อดิจิทัลโดยมีครูคอยกำกับดูแลตลอดเวลา และใช้โดยมีการกำหนดเป้าหมาย เลือก และตัดสินใจร่วมกัน

References

กุลชาติ พันธุวรกุล และเมษา นวลศรี. (2562). เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(1), 89-112.

คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dla.go.th/upload/document/type2/2019/3/21360_1_1551673939193.pdf

ชนิพรรณ จาติเสถียร, กันตวรรณ มีสมสาร, และอภิรดี ไชยกาล. (2560). วิกฤตปฐมวัยและแนวทางแก้ไขผลงานการศึกษา รวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาเด็กปฐมวัยไทยและแนวทางในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : พลัส เพรส.

ชุติมา เล็กพงศ์ และปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. (2561). บทบาทของผู้ปกครองในการใช้เทคโนโลยีและสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย. วารสาอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 31(3), 71-81.

แพรวพรรณ สุริวงศ์. (2558). สร้างสมองลูก สู่ยุคดิจิทัล. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก : https://www.thaihealth.or.th

วิเชียร เกตุสิงห์. (2545). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

American Academy of Pediatrics Council on Communication and Media. (2016). Media and young minds. Pediatrics, 138(5), 1–6.

Bongiorno, L. (2020). Uncharted Territory: 10 Technology Tips for Preschool Parents. Retrieved

December 21, 2020. from https://www.naeyc.org/our-work/families/technology-tips-for-preschool-parents

Donohue, C. & Schomburg, R. (2017). Technology and Interactive Media in Early Childhood Programs Young Children. YC Yong Children. 72(4) (September 2017), 72-78. [Online]. . Retrieved March 17th, 2023, Available: https://www. jstor.org/stable/90013713

Erikson Institute. (2016). Technology and young children in the digital age: A report from the EriksonInstitute. [Online]. Retrieved March 25th, 2023, Available: http://www.erikson.edu/wp-content/uploads/2018/07/Erikson-Institute-Technology-and-Young-Children-Survey.pdf

National Association for the Education of Young Children & Fred Rogers Center for Early Learning and Children’s Media. (2012). Technology and Interactive Media as Tools in Early Childhood Programs Serving Children from Birth through Age 8. Joint position statement. Washington, DC: NAEYC; Latrobe, PA: Fred Rogers Center at St. Vincent College.

Oliemat E., Ihmeideh F., & Alkhawaldeh M. (2018). The use of touch-screen tablets in early

childhood: Children's knowledge, skills, and attitudes towards tablet technology. Children and Youth Services Review. [Online]. Retrieved May 17th, 2023, Available: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0190740917310319.

Vodopivec, J. L. (2011). Some aspects of teaching media literacy to preschool children in Slovenia from a Perception Standpoint of Teachers and Parents. Acta Didactica Napocensia, 4(2), 69–78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30