ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ ใจสมุทร อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • อัยยวิน รัตนเพียร อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ฝาชิน องศารา อาจารย์ประจำคณะการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ธวัช รวมทรัพทย์ อาจารย์ประจำคณะการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดการโลจิสติกส์ , แหล่งท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมเป็นแบบสอบถาม ประชากรเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตรของ Cochran, W.G. (1977) ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95 เปอร์เซ็นต์ ค่าความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง เท่ากับ  5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 384 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (check list) โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาณโดยใช้สถิติ t-test, F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) โดยกำหนดที่ระดับนัยสำคัญ .05 การวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ที่มีอายุ 21-30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นนักศึกษา มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร2)เปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีประสิทธิภาพต่อการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในเขตจตุจักรกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน       

References

กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว. (2555). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กระบวนทัศน์การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่. จุลสารการท่องเที่ยว ประจำไตรมาสที่ 3/2552, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://issuu.com/etatjournal/docs/etat32552.

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสยาม.

กัลยา วงษ์สมัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงาน ในหน่วยงาน บริการด้านเครื่องรูดบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสยาม. สืบค้นจาก http://e-research.siam.edu/wp-content/

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ.(2555).การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา.วารสารเทคโนโลยีสุรนารี.

พชรรร เศรษฐยานนท์. (2554). การจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการของร้านดอกไม้ในเขตกรุงเทพมหานครสืบค้น http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/399/1/pachara_sadt.pdf

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดทฤษฎีประสิทธิภาพ. สืบค้น 22 สิงหาคม 2563, สืบค้นจาก

"http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_51.html"51. HYPERLINK

ปัญโญรัฐโรจน์, สุภัสสรา.(2559). Logis Management for Tourism in Nonthaburi Province.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ทองแท้, ศุภวรรณ.(2559).The Effectiveness of Services of The Saraburi Provincial Land Office. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา.

Millet, J. D. (1954). Management in the public service: The best for effective performance. New York: McGraw-Hill.

Sanitpun, Saranthon.(2560). Mixed Marketing Factors Motivating Tourists to Travel to Tha Na Market, Nakhon Chai Si District, Nakhon Pathom Province.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30