รูปแบบบรรจุภัณฑ์แคลเซียมโซปที่สามารถย่อยสลายในกระเพาะรูเมนที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
รูปแบบบรรจุภัณฑ์ , แคลเซียมโซป , การตั้งใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์แคลเซียมโซปที่สามารถย่อยสลายในกระเพาะรูเมนที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบมีจุดประสงค์ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยที่สัมผัสกับสินค้าที่อยู่ภายในโดยตรง มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ของบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้โคนมนั้นสามารถนำ โปรตีน ไขมันและวิตามินจากผลิตภัณฑ์แคลเซียมโซปไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ไม่มีการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการระหว่างระบบการย่อยและไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของโคนมส่วน บรรจุภัณฑ์หลังระบบการย่อยของโคนมสามารถนำไปใช้ประโยนช์โดยไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและบรรจุภัณฑ์สะดวกในการถือ สามารถหยิบจับใช้งานและจัดเก็บได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน มีความแม่นยำในปริมาณการให้ต่อครั้งสามารถควบคุมต้นทุนได้และขนาดของบรรจุภัณฑ์ ขนาด 50 กรัม ชนิดบาง มีความเหมาะสมที่สุด เพราะมีปริมาณที่พอดีกับความต้องการของโคนมที่ให้ในแต่ละมื้อและสามารถแบ่งการให้ในแต่ละมื้อได้
References
กรมปศุสัตว์. (2563). ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2563 , จาก : http://data.go.th/dataset/item_2a1f6f83-4721-4f3d-894e-f886a6d6f157.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2558). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ธนาเพลส จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
พาฝัน รัตนะและคณะ. (2563). การพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเกาะไหล อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 17 กรกฎาคม 2563. 758-768. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรอนงค์ พวงชมภู. (2560). สูตรส่วนผสมอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง. สาขาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
อัรฮาวี เจ๊ะสะแมและยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79-90.
Kim, S., & Thorndike Pysarchik, D. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6), 280-291.