คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการเทศบาล ตำบลลำดวนสุรพินท์ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจ, เทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการจากเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์ ประชาชนที่มารับบริการของเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคำนวณโดยใช้วิธี Taro Yamane มีจำนวน 396 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เป็นการหาจากระดับความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เป็นการหาจากระดับความพึงพอใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เป็นการหาจากสมการถดถอย เชิงพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความคิดเห็นด้านการตอบสนองต่อผู้เข้ารับบริการเป็นอันดับ 1 (x̄ = 4.42, S.D. = 0.67) รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจ (x̄ = 4.41, S.D.= 0.54) ด้านการให้บริการที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม (x̄ = 4.32, S.D.= 0.59) ด้านการดูแลเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจ (x̄ = 4.32, S.D.= 0.63) และด้านการให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ (x̄ = 4.27, S.D.=0.64) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาคุณภาพการให้บริการของเทศบาลในภาพรวม พบว่าเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจต่อการบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นอันดับ 1 (x̄ = 4.40, S.D.= 0.59) รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการ (x̄ = 4.39, S.D.= 0.55) และความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ (x̄ = 4.35, S.D.= 0.57) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ เทศบาลหรือหน่วยงานของรัฐทุกแห่งควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เช่น ห้องน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้งาน ที่จอดรถที่เพียงพอและกว้างขวาง และที่นั่งสำหรับการรอคิว อีกทั้งควรอัพเดทข้อมูล ข่าวสารใหม่ ๆ และพัฒนาระบบการทำงานใหม่ เพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็ว
References
เอกสารอ้างอิง
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพรรณนานคร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565, จาก : http://www.pnk.go.th/fileupload/7553339251.pdf
เทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์. (2565). นโยบายของนายกเทศมนตรีตำบลลำดวนสุรพินท์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565, จาก : http://www.lamduansuraphin.go.th /page. php?pagename =data_detail&id=168
เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พนิดา เพชรรัตน์. (2556). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีอากรสำนักงาน สรรพากรพื้นที่นครราชสีมา 2. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พัณณิดา เรืองฤทธิ์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565, จาก : https://mmm.ru.ac.th/MMM /IS/ml10/6114962098.pdf
ศิริรักษ์ ภูหิรัญ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุธรรม เลิศพงษ์ประเสริฐ และธนชาติ ประทุมสวัสดิ์. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(4), 85-98
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications. 1130 pages.