แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • ดารัตน์ มากสวัสดิ์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สินีนาถ เริ่มลาวรรณ อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, New Normal

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2, 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2 จำนวน 294 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ แผนกที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่าง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2 ไม่แตกต่างกัน 2) แรงจูงใจมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2 จากการศึกษา พบว่า 1) แรงจูงใจ ด้านปัจจัยจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2 มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง โดยพบว่า แรงจูงใจ ด้านปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2 ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความสำเร็จในการทำงานและด้านการยอมรับนับถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แรงจูงใจ ด้านปัจจัยค้ำจุนกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2 มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง โดยพบว่า แรงจูงใจ ด้านปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุค New Normal ของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2 ได้แก่ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/001_1gcd.

กฤตภาคิน มิ่งโสภา. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564, 19 สิงหาคม 2564. 1615 – 1634. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2554). การวิจัยบริการทางสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา: ห้างหุ่นส่วนจำกัด แฮมคอม พิว ออฟเซท.

ชาญ เหรียญวิไลรัตน์. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 6(2), 14-25.

ณัฐกานต์ สิงห์ทองสุข. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ตรีภพ ชินบูรณ์. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(3), 1-9.

ประกายมาศ เพชรรอด. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แอล .วาย.อินดัสตรีส จำกัด. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

แผนกทรัพยากรบุคคล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2. (2565). ข้อมูลบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เขต 2. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขต 2

ศิรดา เพชรแก้วกุล. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(33),75-90.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2563). แนวทางการบริหารหน่วยงานภาครัฐ ในยุค New normal. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/ attachment/ page/rwmelm_nbs.2_run_12.pdf

สมชัย ศรีสุทธิยากร. (2563). New normal กับระบบราชการไทย [รายงานพิเศษ]. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.matichonweekly.com/column/article_307573

สมพร บุญคุณ, พ.ต.อ. ดร.นพดล บุรณนัฏ (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 9(2), 36-46.

สำนักงานบริหารกลาง. (2564). การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติ กรณีการปฏิบัติงานในและนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/personnel/download/Policy.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอภาส เจริญสุข. (2558). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมโครงสร้างเหล็ก กรณีศึกษา บริษัท เอ จำกัด. วิทยานิพนธ์รบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

The Bangkok Insight. (2563). อัพเดทสถานการณ์ไวรัสโคโรนา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก :https://www.thebangkokinsight.com/news/world-news/covid-19-world-news/721702/

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers. (pp.202-204).

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29