การสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม กรณีศึกษา “ร้อยแก่นสาร”

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พร ภูครองเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การสำรวจ, สถานภาพ, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, ร้อยแก่นสาร

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยคือ ได้ข้อมูลสถานภาพ กิจการการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าข่ายลักษณะของกิจการผู้ประกอบเพื่อสังคมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม

            ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม พบว่าพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 11 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 71 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 96 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 182 แห่ง พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 7 แห่ง ประเภทเครื่องดื่มจำนวน 2 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 56 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 70 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 139 แห่ง และพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 13 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 82 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 51 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 18 แห่ง รวม 164 แห่ง

            ทรัพยากรพื้นฐานเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ซึ่งหมายถึง วิสาหกิจชุมชนมีทรัพยากรพื้นฐานเกี่ยวกับด้านทรัพยากรกายภาพ วิสาหกิจชุมชนมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชนทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน นำวัตถุดิบจากแหล่งชุมชนหรือใกล้เคียงมาใช้ในการผลิตสามารถใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

โกศล ดีเลิศธรรม. (2554). องค์กรทำดีเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: MGR 360º.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). รายงานสรุปประเภทกิจการวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามพื้นที่: เชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564, จาก : http://smce.doae.go.th.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร. ค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564, จาก : http://www.ifd.or.th.

จินตนา กาญจนวิสุทธ์. (2558). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

สฤณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มละออ. (2557). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Fretum on Investment: SROI). ม.ป.ท.

สานิตย์ หนูนิล์. (2557). การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, 17(1), 358-372.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม. (2558). รายชื่อกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. [ม.ป.ท.]

อิราวัฒน์ ชมระกา, ศรีไพร สกุลพันธ์, และวรรณกนก เขื่อนสุข. (2554). ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 3(5), 37-50.

Barney, J. B. (2012). Purchasing, supply chain management and sustained competitive advantage: The relevance of resource‐based theory. Journal of Supply Chain Management,48(2), 3-6.

Phasuk, W. (2014). Market orientation and learning orientation in improving innovativeness and organizational performance of medium sized industrial business. Doctoral dissertation. National Institute of Development Administration.

Talib, F., Rahman, Z., and Qureshi, M. N. (2013). An empirical investigation of relationship between total quality management practices and quality performance in Indian service companies. International journal of quality & reliability management, 30(3), 280-318.

บุคลานุกรม

คำจัน สมศรี (ผู้ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มวิสาหกิจกลุ่มผ้าทอบ้านนาภู หมู่ 8 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564

ทวงศักดิ์ บัวพันธ์ (ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มจักสานบ้านเข็ง หมู่ 7 ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564

บุญเที่ยง คำยอดแก้ว (ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าไหมบ้านห้วยทราย หมู่ 6 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564

มะลิ บุตรสีเมือง (ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มวิสาหกิจกลุ่มทอเสื่อกกบ้านโคกเสื่อเฒ่า ตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564

สม ไตรโสดา ผู้(ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านดอนงัว หมู่ 1 ตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564

สาคร ทับทิมไสย (ให้สัมภาษณ์). พิมพ์พร ภูครองเพชร (ผู้สัมภาษณ์). ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรโคกผักกูด-โป่งแดง แปรรูปข้าวกล้อง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23