พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของประชากรในจังหวัดปทุมธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงาม
คำสำคัญ:
ลักษณะพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, พฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการ , การเปิดรับสื่อออนไลน์ , สถานบริการเสริมความงามบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19ของประชากรในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามของประชากรในจังหวัดปทุมธานี โดยได้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 173 คนโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form และทำแบบสอบถามหน้าสถานบริการเสริมความงามโดยตรง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ประชากรผู้ใช้บริการสถานเสริมความงามที่มีเพศแตกต่างกันในจังหวัดปทุมธานีมีลักษณะพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศหญิงจะมีภาพรวมสูงกว่าเพศชายเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย 2) ประชากรผู้ใช้บริการสถานเสริมความงามมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามโดยตัวแปรทำนายที่สำคัญ มี 2 ตัว คือ วัตถุประสงค์การเปิดรับสื่อออนไลน์รองลงมา เหตุผลในการเปิดรับสื่อออนไลน์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์แต่ละด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามซึ่งมีค่าความสัมพันธ์กันร้อยละ64.4
References
ธัญญลักษณ์ เบญจมตรัยโย. (2562). การโฆษณาบนยูทูบ (YouTube) ที่มีส่งผลต่อ การรับรู้คุณค่าและภาพลักษณ์ตราไทยประกันชีวิตกรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาชุด “แม่รู้อะไรบ้าง?”. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างและสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่ น่าสนใจ. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565, จาก : https://www.lllskill.com/web/files/G*power.pdf
ประชาชาติธุรกิจ. (2563). Online Marketing Trend สิ่งที่ SMEs ต้องเรียนรู้. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2567, จาก : https://www.prachachat.net/finance/news-496074
พิจิตรา มงคลศรีพิพัฒน์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์โครงการเที่ยวไทยเท่ กับ พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิชญ์ชยา ฐิติจิรวิชญ์. (2560). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงาม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุภาวดี รอดประเสริฐ. (2562). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานเสริมความงามเมโกะ คลินิกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ .
อณิษฐา ผลประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริม ความงาม ด้านผิวพรรณ ของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cohen, J. (1962). The Statistical power of abnormal-social psychological research: A review. Journal of Abnormal and Social Psychology. 65,145-153.
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic.
Howell, D.C. (2010). Statistical methods for psychology. (7th Ed.). Belmont: Wadsworth, Engage Learning.
Narongyod Mahittivanicha. (2563). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้จัดทำ สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 (อัพเดท 30/03/2563) . ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2567, จาก : https://www.twfdigital.com/blog/2020/04/thailand-internet-user-profile-2019/
Orawan Marketeer. (2562). ธุรกิจความงามยังติดปีกแต่ต้องแกร่งพอที่จะบินฝ่า Digitaldisruption ให้ได้. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565, จาก : https://www.marketeeronline.co/archives/118113.