ทัศนคติของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล : กรณีศึกษา ธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อนุวัตร์ ราชโพธิ์ทอง นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ระบิล พ้นภัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ทัศนคติของผู้บริโภค, ความตั้งใจใช้บริการ, ธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีศึกษาธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้ที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธีการการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติของผู้บริโภค ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีศึกษาธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ทัศนคติของผู้บริโภคสามารถพยากรณ์ความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ได้ร้อยละ 75 (Adj= 0.750)

References

กชพรรณ รักษี. (2561). ความต้องการของแต่ละบุคคล การมีส่วนร่วม การรับรู้ด้านคุณค่า และความคาดหวังด้านบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการ ที่ศูนย์สร้างเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้เกษียณอายุงาน ของประเทศไทยในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ชุลีพร จุมพลหล้า. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ณฐมน ดำรงศักดิ์. (2563). ทัศนคติของลูกค้าต่อการให้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสินสาขาศูนย์การค้าไทยสมบูรณ์ทุ่งสง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ถิงถิง หลี่. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลให้คนจีนตัดสินใจเลือกใช้บริการนวดแผนไทยในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). การสนับสนุนจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564). จาก : https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564). จาก: https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/economic-covid-impact.

ธนาภิญญ์ อัตตฤทธิ์ ดวงพร ขุนอาจสูงเนิน และ สุกฤตา บุรินทร์วัฒนา. (2563). ทัศนคติ ความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจใช้งานนวัตกรรมทางการเงินในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2, 5. 29-43

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด

ปิยนุช พละเยี่ยม และชลิตา ศรีนวล. (2561). ความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. Panyapiwat Journal, 10, 3. 154-163

มึ่งเจ๋ เวิน. (2561). อิทธิพลของความรู้ความเข้าใจ ความมีนวัตกรรม และการรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินผ่านระบบสแกนใบหน้า. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2548). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อรกานต์ สุคนธวิโรจน์. (2561). ทัศนคติของกลุ่มคนเจนว่ายต่อความตั้งใจใช้บริการห้องพักโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Elhajjar, S. (2020). Examining Lebanese consumers' negative attitudes towar banks. International Journal of Bank Marketing, 12,2. 1511-1528.

Schiffman, L.G. and Kanuk. (1994). Consumer behavior. (5th Ed.). Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

Zeithaml, P. and Berry, L.L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26