กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ
คำสำคัญ:
กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการ, ประสิทธิภาพการทำงาน, ฟุตบอลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและกิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เลือกการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31 - 35 ปี สถานภาพ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001 บาทขึ้นไป และอายุงาน 15 ปีขึ้นไป 2) กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านน้ำใจงาม ด้านสังคมดี ด้านครอบครัวดี ด้านทางสงบ ด้านผ่อนคลาย ด้านหาความรู้ ด้านสุขภาพดี และด้านปลดหนี้ 3) ประสิทธิภาพการทำงาน โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านคุณภาพงาน ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และด้านปริมาณงาน 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการทำงานบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ สามารถสรุปการวิจัยว่า ระดับการศึกษา มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ สามารถสรุปการวิจัยว่า กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการส่งผลต่อ โดยภาพรวม ร้อยละ 59.5
References
ขวัญเมือง บวรอัศวกุล. (2559). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกับการทำงานอย่างมีความสุข (Happy Workplace) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จังหวัดนครปฐม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ มกราคม 7, 2565, จาก: http://tpso4.m-society.go.th/index.php/th/tpso-news/2017-05-16-15-16-27/43-happy-workplace-8.
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). เอกสารประกอบการสัมมนา Happy Workplace Forum แผนงานสุขภาวะ
องค์กรเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้าง สุขภาพ (สสส.).
พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย.
วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ มกราคม 7, 2565, จาก:
https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/เทคนิคการทำงานให้ประสบ.
นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี
จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มนชนก ชูพรรคเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในพื้นที่อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
นภู จ้างประเสริฐ. (2560). ความสุขในการทำงานและพฤติกรรมการมีจริยธรรมในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.