ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬา ของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

ผู้แต่ง

  • อธิวัฒน์ ตั้งทวีวิพัฒน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ
  • อาชวิทย์ เจิงกลิ่นจันทน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ
  • ปิยพันธุ์ ชะบา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการกีฬา (ระบบการศึกษาทางไกล)
  • วัฒนา ตรงเที่ยง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการกีฬา (ระบบการศึกษาทางไกล)
  • สุภกร ตันวราวุฒิชัย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์, ฟุตบอล

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬาของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 2) ส่วนประสมทางการตลาด (7P) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬาของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นแฟนฟุตบอลสโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มเลือกตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 226 คน มีอายุ 21 – 30 ปี อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,001 – 15,000 บาท ประเภทสินค้าที่เลือกซื้อ เป็นสินค้าสำหรับผู้ชาย ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งที่ซื้อ 501 – 1,000 บาท 2) ตัวแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬาของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด พบว่า ปัจจัยที่มีส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬาของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด มีดังนี้ ด้านการนำเสนอทางกายภาพ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้ร้อยละ 32.8 ส่วนด้านบุคลากร ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กีฬาของแฟนฟุตบอลสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แต่เมื่อนำมาตรวจสอบพบว่าไม่เหมาะสมกับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

References

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2558). Basic Marketing การตลาดเข้าใจง่ายกว่าที่คุณคิด. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

พีรศักดิ์ มนต์ชัยกุล. (2565). อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมฟุตบอลในสนาม กรณีศึกษา สโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด. (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤนาถ ไกรนรา และ เนติพล เพชรสีนวล. (2562). พฤติกรรมการชมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชม

การแข่งขันฟุตบอล พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ (T1) ของแฟนบอลสโมสรแบงค็อก2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2565, จาก: https://rsucon.rsu.ac.th/proceeding/article/2231. บดินทร์ภัทร์ สิงห์โต. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าตลาดนัดสวนจตุจักร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2565, จาก: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/

/1/bodinphat_sing.pdf.

ปารามินทร์ ปลอดภัย และสราวุธ ชัยวิชิต. (2566). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเข้าชมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกในสนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ของแฟนบอลทีมสุพรรณบุรี เอฟซี. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 49(3), 285-298.

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินกิจการกิจกรรมของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2565, จาก:http://www.tripletrees.co/article/66/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0

%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). จำนวนราษฎร ทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2565, จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อสิงหาคม4,2565,จาก:http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702030171_3559_2002.pdf.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control (9th ed.).

New Jersey: Asimmon & Schuster.

Philip Kotler. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). http://www.ascdegreecollege.ac.in/wpcontent/uploads/2020/12/Marketing-Management-Millenium- Edition.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30