คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ เบ้างาม นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร
  • อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันในงาน, สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวน 225 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 

           ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงไปได้แก่ ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในงาน ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ตามลำดับ 2) ระดับความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความเต็มใจอุทิศตนให้กับงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงไป ได้แก่ ความกระตือรือร้น และการรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตามลำดับและ 3) คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมในทิศทางบวก ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า   ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเองด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยตัวพยากรณ์ที่ทำนายได้ดีที่สุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าส่วนด้านประชาธิปไตยในองค์กร และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ไม่ส่งผลต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กฤษฎา ฉัตรวิไล และ ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2562). ความผูกพันในงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานของ

พนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2), 300 - 320.

กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรักผูกพันในงาน : การทบทวนวรรณกรรม. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, 22 มิถุนายน 2560. 894-901. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

กิติคุณ ซื่อสัตย์ดี. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานชวเลขสังกัด

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ฐิติวรรณ เรืองสุวรรณ. (2560). ขวัญกำลังใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงาน : เปรียบเทียบระหว่าง

พนักงานสัญญาจ้างและพนักงานประจำของบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิศาภัทร มวงคํา. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย

มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. สารนิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธิดารัตน์ สิริวราวุธ. (2558). การศึกษาความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ GENERATION Y. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

นราทิพย์ ผินประดับ. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 171 - 180.

นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ

ปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุณฑริกา นิลผาย. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะงานกับความผูกพันในงาน กรณีศึกษา : บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.

มินตรา อุทัยรั้งษี และคณะ. (2561). ทุนทางจิตวิทยาและความผูกพันในงานของพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 47(4), 314 – 324.

เมธากร ศรียะพันธุ์. (2563). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร : กรณีศึกษาองค์กีปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภพิชญ์ ศุขโกเมศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ดูแลคนพิการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2561, เมษายน 26). ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการ บริหารงานบุคคล พ.ศ. 2561.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564). ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564 จาก : https://dpis.audit.go.th

สุรีย์พร วิสุทธากรณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร .การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อริยนันทน์ วงศ์ชื่น. (2555). ผลกระทบของความผูกพันในงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรุณ ศรีระยับ และคณะ. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 120 – 132.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2006).Multivariate Data Analysis. (6th eidition). Pearson Prentice Hall.

Schaufeli, W.B., Salanova, M., Gonzalez-Roma, V. and Bakker, A.B. (2002). The measurement

of engagement and burnout : a confirmative analytic approach. Journal of Happiness Studies, 3, 71 - 92.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life : What is it?. Slone Management Review, 15(1), 12 - 16.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25