การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม กรณีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ ยุทโท นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะเศษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ธรรญชนก เพชรานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กฤตวิทย์ อัจฉริยะพานิช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การแพทย์ฉุกเฉิน , ผลตอบแทนทางสังคม , ผลลัพธ์ด้านสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment ) กรณีศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยการใช้ผลลัพธ์ด้านสังคม (social impact) เพื่อประเมินผลกระทบการดำเนินการต่อการลงทุนไป 1 บาท โดย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน จำนวน 275 คน ครู 25 คน ผู้ปกครอง 275 คน โรงเรียนที่เข้าร่วมขยายเครือข่ายกิจกรรม จำนวน 25 โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐ 2 แห่ง โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) จากผู้เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินกิจกรรม ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน มกราคม–ธันวาคม 2563 การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI): กรณีศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า มูลค่าผลตอบแทนทางสังคมที่คํานวณ เท่ากับ 28.43 บาท ความหมายถึงงบประมาณโครงการในทุกๆ 1 บาทที่ดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่จังหวัดเชียงราย จะได้ผลต่อแทนคืนมา 28.43 บาท มี มูลค่าสุทธิเท่ากับ 24,756,436.63 บาท

References

กัญทิยา ประดับบุญ, พุดตาล พันธุเณร และชญานินท์ ประทุมสูตร. (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญจวรรณ พานทอง. (2557). การวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน กรณีศึกษา: โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูปที่ 1(ฝาง). วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2562). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตประชากร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, จาก: http://61.19.32.21/moph/?srch- term=%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E

สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ. (2560). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี (ปี 2554-2556) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2560, จาก : http://bps.moph.go.th/content/test-basic-page-1-1.

Ma, A., Wong, KL., Tou, A., Vyas, L., and Wilks, J. (2015). CPR Knowledge and Attitudes among High School Students Aged 15-16 in Hong Kong. Hong Kong Journal of Emergency Medicine. 22(1), 3-13.

Santhikrishna, C. and Rekha,P. (2018). First-aid Education for Safety of Students. IOSR Journal of Humanities and Social Science, 23(7), 26-29.

Sorets,T. R., and Mateen, F. J. (2015). Mandatory CPR Training in US High Schools. Mayo Clinic Proceedings,90(6), 710-712.

Wingen, S., Schroeder, D. C., Ecker, H., Steinhauser, S., Altin, S., Stock, S., et al. (2018). Self-Confidence and Level of Knowledge after Cardiopulmonary Resuscitation Training in 14 to 18-Year-Old School Children: A Randomised-Interventional Controlled Study in Secondary Schools in Germany. European Journal of Anaesthesiology, 35(7), 519-526.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29