คุณภาพการบริการที่มีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • เปรมสินี พ่วงวัฒนวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สินีนาถ เริ่มลาวรรณ อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ , ภาพลักษณ์องค์กร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการและระดับภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่มีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ (Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีความคลาดเคลื่อน 5% และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกผู้ป่วยนอกเป็นด้านแผนกผู้มารับบริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราที่แตกต่าง มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณภาพการบริการ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยคุณภาพการบริการมีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านการเอาใจใส่ในผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการมีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัด

ฉะเชิงเทรา (พ.ศ.2561-2565) (ฉบับทบทวน). [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล 23 มีนาคม 2565. จาก

http://www.chachoengsao.go.th/cco/images/plan/plan_ccs65.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี 2563. [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 มกราคม 2565. จาก https://bkpho.moph.go.th/bungkanpho/uploads/media/202002271051227

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2554). การวิจัยบริการทางสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา: แฮมคอมพิว ออฟเซท.

ไชยชนะ จันทรอารีย์. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจการบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 25-40.

งานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว . (2565). ข้อมูลโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึง ข้อมูล 23 กุมภาพันธ์ 2565. จาก http://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/pcu.php?code=10851

ณัฐหทัย นิรัติศัย. (2564, กันยายน-ธันวาคม). ระบบสาธารณสุขไทย : ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤต. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6(3), 174-188.

นพวรรณ จงสง่ากลาง, วรวรรณ สโมสรสุขและธนบรรณ อู่ทองมาก. (2561, มีนาคม-เมษายน). การรับรู้คุณภาพบริการของผู้มารับบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 26(2),329-342.

วิจัยกรุงศรี. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65: ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล

มกราคม 2565. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals

ปุณยภา พวงทับทิม. (2560). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจโรงพยาบาล AAA อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ. (2560). โพลรถเมล์และโรงพยาบาลรัฐบาล ปัญหาทุกข์ร้อน เรื่องอะไร. [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 มกราคม 2565. จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2610180

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ประชากรไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560. [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มกราคม 2565. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N30-05-62-1.aspx

สุพิญญา คำพา. (2560). การศึกษาคุณภาพบริการโดยพิจารณาที่ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการโรงพยาบาล ABC. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560, 19 มีนาคม). โค้งแห่งคุณค่าเพื่อการพัฒนาโรงพยาบาลของรัฐ : แก้ไขปัญหาโรงพยาบาลเอกชนราคาแพงและแก้ปัญหาโรงพยาบาลของรัฐขาดทุน. (Retrived 2561, กันยายน29). [ออนไลน์]. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มกราคม 2565. จาก: http://as.nida.ac.th/gsas/article/

LeBlance, G. & Nguyen, N. (1996). "Cues used by customers evaluating corporate image in service firms: An empirical study in financial institutions". Corporate Communications: An International Journal, 7(2), 44-56.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancingcustomer perceptions and expectations. New york: The free press.

Ramesh Neupane and Manju Devkota. (2017). Evaluation of the Impacts of Service Quality Dimensions on Patient/Customer Satisfaction: A Study of Private Hospitals in Nepal. Int. J. Soc. Sc. Manage. Vol. 4, Issue-3: 165-176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26