ความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ในการตัดสินใจซื้อกองทุนรวม ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ธราภรณ์ ทรงประยูร นิสิตปริญญาโท โครงการปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธีรารัตน์ วรพิเชฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กองทุนรวม, ส่วนประสมทางการตลาด, ลักษณะประชากรศาสตร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด(7Ps) ของผู้ที่ซื้อกองทุนรวมผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ และเพื่อศึกษาความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ที่ซื้อกองทุนรวมผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ที่ซื้อกองทุนรวมผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล

            ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ทางด้านเพศที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) แตกต่างกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านภาพลักษณ์และการนำเสนอ อายุแตกต่างมีการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) แตกต่างกัน 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านบุคลากร สถานภาพแตกต่างและระดับการศึกษาสูงสุดแตกต่างกันมีการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ไม่แตกต่างกัน อาชีพแตกต่างกันมีการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) แตกต่างกัน 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านกระบวนการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) แตกต่างกัน 5 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านภาพลักษณ์และการนำเสนอ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร.

กุลธนิดา วริทธนันท์ และรัตติกาล เขื่อนเพ็ชร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของประชากรวัยทำงานในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2561). เรื่องของผู้ชาย…ขอต่ออีกนิดเถอะ (น่า) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564, จาก : https://marketeeronline.co/archives/16502.

คุณาพจน์ พูลทัศฐาน. (2564). ทำไมต้องลงทุน? แค่ฝากเงินพอหรือไม่? [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/why-investment.html.

ทรรศวรรณ จันทร์สาย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม RMF และ LTF กับ บลจ. บัวหลวง : กรณีศึกษาลูกค้าที่ลงทุนผ่านธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2562). ธนาคารไทยพาณิชย์ชู 4 กลยุทธ์สำคัญขับเคลื่อนธุรกิจบริหารความมั่งคั่งปี 2562 นำเวลธ์เทคเสริมแกร่งแพลตฟอร์มการให้บริการมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านเวลธ์แบงก์กิ้งของเมืองไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.scb.co.th/th/about-us/news/may-2562/nws-wealth-management.html.

นิตยา ขวัญแก้ว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอัตราสะสมและแผนการลงทุนของสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บลจ. ไทยพาณิชย์. (ม.ป.ป.) จุดเด่นของเรา บลจ. ไทยพาณิชย์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.scbam.com/th/about/history/fund-outstanding-point.

มุกดา ตติยศุภกรกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบ Employee’s Choice. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณรัตน์ ธัญญกิตติกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนกองทุนรวมทองคำผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลลักษณ์ จุ้ยช่วย และธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ GRADUATE SCHOOL MINI-CONFERENCE 2018, ครั้งที่ 1. 988-997. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

อรรถเดช เทพชัยธนะวงศ์. (2558). ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในหน่วยลงทุนประเภทกองทุนต่างประเทศของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed). New York : John Wiley and Sons.

Kotler, P. and Keller,K. L. (2016). Marketing management. (13th Ed). NJ : Pearson Prentice Hall.

Likert, R. (1970). New Partterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-01