การพัฒนากลยุทธ์ช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทอผ้าบ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ช่องทางการตลาด, การตลาดเชิงสร้างสรรค์, ช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาศักยภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์ทอผ้า บ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2. การพัฒนากลยุทธ์ช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทอผ้าบ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (focus group) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีทอผ้า และกลุ่มแม่บ้านเกษตรรวงทองกุดหว้า จำนวน 132 คน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มลูกค้า จำนวน 200 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มชุมชนและลูกค้าให้ความสนใจด้านช่องทางการจำหน่ายผ่านหน้าร้าน ให้ความสนใจการจัดตกแต่งสินค้าเป็นหมวดหมู่มีระเบียบยิ่งขึ้น มีจุดดึงดูดความสนใจ มีจุดเลือกซื้อสินค้าที่สะดวก ความสะอาดภายในร้านเพิ่มขึ้น ด้านช่องทางการการตลาดผ่านออนไลน์ มีการสร้างเพจสินค้า มีการอัพโหลดรูปผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้านช่องทางการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่าย มีจำนวนคู่ค้าหรือตัวแทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น จากการพัฒนากลยุทธ์ช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ทำให้กลุ่มทอผ้ากุดหว้าเพิ่มยอดขายของกลุ่มเกษตรรวงทองกุดหว้าคิดเป็นร้อยละ 8.89 และกลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีทอผ้ากุดหว้า ยอดขายเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.97 จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการซื้อสินค้าผ่านช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้ากุดหว้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.58) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ข้อโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจำหน่ายผ่านออนไลน์ (x̄=3.79) ด้านการจำหน่ายผ่านตัวแทนการจำหน่าย (x̄=3.67) และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการจำหน่ายผ่านหน้าร้าน (x̄=3.25) งานวิจัยนี้ช่วยให้สามารถเข้าใจการพัฒนากลยุทธ์ช่องทางตลาดการตลาดเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มรายได้ภายใต้ความสามารถของบริบทของชุมชนมากยิ่งขึ้น
References
จรินทร์ จารุเสน และธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2565). การบริการช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าบน อัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ จ.ปทุมธานี. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 160-174.
จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2561). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานทางการตลาดหลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(159), 1-32.
รัชนีกร ไวกล้า. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์ประเพณีการเหยาของชาวภูไท. วารสารศิลปการจัดการ, 3(1), 53-68.
ลัดดาวัลย์ ฝอยทอง ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค และอนุรักษ์ เรืองรอบ. (2565). กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำและการบอกต่อลูกค้าร้านอาหารริมแม่น้ำบางประกง. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ, 6(1), 116-125.
สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน. (2562). รูปธรรมการพัฒนาของคนผู้ไทกุดหว้า ฐานทุนสำคัญในการพัฒนาตำบล. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562, จาก : https://ref.codi.or.th.
สุภารักษ์ จูตระกูล. (2563) นวัตกรรมสินค้าภูมิปัญญาไทยเชิงสร้างสรรค์กับการตลาดเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(1), 234-246.
Godes, D., & Silva, J. C. (2012). Sequential and temporal dynamics of online opinion. Marketing Science, 31(3), 448–473.
Neti, S. (2011). Social media and its role in maketing. International Journal of Enterprise Computing and Business System, 1(2), 1-15.
Rahman, M. M., & Kuzminov, A. N. (2019). Marketing mix as a source of increasing the efficiency of marketing activity. Modern Problems of Scientific Activity, 66-68.