การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จินดานิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สิริพร พงศ์หิรัญสกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พัชรี ฉลาดธัญกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ผู้กำหนดนโยบายในการนำเทคโนโลยีมาใช้จะต้องมีการวางแผนเพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทและตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดระบบการทำงานที่มีความทันสมัย รวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยง ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ประหยัดเวลา ส่งผลให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ จากกระบวนการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่การวางแผน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรม การพัฒนา การธำรงรักษาคนให้อยู่กับองค์กรตลอดไป มีกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรภายในเชิงสร้างสรรค์และมีการสรรหาบุคคลภายนอกที่เป็นคนดี คนเก่ง มาร่วมกันพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรในแต่ละองค์กรพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติงาน การเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุง แก้ไขผลการปฏิบัติงาน เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และประสบความสำเร็จได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

References

โกเมศ แดงทองดี. (2560). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารวิชาการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(1), 1-6.

ชนิดา รัตนชล. (2562). ความต้องการสวัสดิการตามเจเนอเรชั่นของบุคลากรสายสนับสนุน. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชัชราวรรณ มีทรัพย์ทอง, จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1),183-197.

ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 512 หน้า.

ไทยพาณิชย์. (2564). Drawinbox แพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565, จาก : https://www.scb.co.th/th/about-us/news/apr-2564/scb-10x-darwinbox.html.

นุช สัทธาฉัตรมงคล. (2562). การปรับองค์การเพื่อรับมือคนเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 1-9.

บุญอนันต์ พิสัยทรัพย์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. นนทบุรี : โรงพิมพ์รัตนไตร. 241 หน้า.

พิมพ์ชนก ไชยรัตน์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรม. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

แพรลฎา พจนารถ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22 (1), 241-257.

วนิดา ผาระนัด. (2558). ทฤษฎีตัวยู. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2(4), 29-35.

วรรณวิภางค์ มานะโชติพงศ์, ธร ปีติดล, พงศ์พลิน ยิ่งชนม์เจริญ, กันตพงษ์ วิสารทวรากูล, กัลป์ กรุยรุ่งโรจน์, ไตรสรณ์ ถิรชีวานนท์, และคณะ. (2563). นัยของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับความเหลื่อมล้ำ : บทเรียนจาก เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 158 หน้า.

วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์. (2562). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 : อยู่รอดแม้จุดยืนมนุษย์สั่นคลอน ในโลกดิจิทัลที่ไม่ย้อนกลับหลัง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก : https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/21st-centuryskills.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2560). ยุทธศาสตร์ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ. 12 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ. 215 หน้า.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579).กรุงเทพฯ. 124 หน้า.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

อรรนพ เรืองกัลปวงศ์ และสราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์. (2564). บทบาทใหม่ของผู้นำการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 2(3), 64-77.

Churchman, C. W. (1968). The system approach. New York : Deli. 243 pages.

Reder. (2565). Lewin’s Change Model.. โมเดลการเปลี่ยนแปลงของเลวิน#ExtremeChange [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก : https://reder.red/lewins-change-model-13-12-2022/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-04