ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • เกวลี พร้อมมูล นิสิตปริญญาโท โครงการปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ ภาคค่ำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงพร หาญสันติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, PEA Smart Plus, การยอมรับเทคโนโลยี, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

       การศึกษา เรื่อง ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความแตกต่างของลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ใช้งานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน PEA Smart Plus และ 2. ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน PEA Smart Plus การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีและเคยใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus จำนวน 303 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณรา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ ด้านทัศนคติ และด้านการนำมาใช้งานจริง ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง. (2558). พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจจากแอพพลิเคชั่น ไลน์ (Line) ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-45 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2561). รายงานความยั่งยืนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประจำปี 2561. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก : https://sustainability.pea.co.th/download/

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2563). รายงานประจำปี กฟภ. 2563. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563, จาก : https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/AnnualReport/PEA_Annual_2020TH_08-12-64_low6ForWEB.pdf.

ชัญญาพัทธ์ จงทวี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐพงษ์ แก้วแสง, นราเศรษฐ์ วรรณะวัลย์, จุฬารัตน์ เงินอ่อน, มรกต จันทร์กระพ้อ, และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALLของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(2), 13-22.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ปิยากร พรพีรวิชญ์, เปมิกา พันธุ์สุมา, และพิจักษณ์ วราเสนีย์วุฒิ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการแอปพลิเคชันของฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-42.

วสุธิดา นุริตมนต์. (2562). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 189-199.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 2-22.

สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น. วารสารนักบริหาร, 31(4), 110-115.

สุชัญญา สายชนะ และชลิตา ศรีนวล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่น QueQ ในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 156-165.

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ, ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี, และโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology Comprehension Strategies and Trend). กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์. 339 หน้า.

Chaitanya, C. and Gupta, D. (2017) Factors Influencing Customer Satisfaction with Usage of Shopping Apps in India. in 2nd IEEE International Conference on Recent Trends in Electronics, Information & Communication Technology (RTEICT), 19-20 May 2017. 1483-1486. Sriperumbudur : Sri Venkateshwara College of Engineering.

Chu, A. Z-C. and Chu, R. J-C. (2011). The Intranet’s Role in Newcomer Socialization in Hotel Industry in Taiwan-Technology Acceptance Model Analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed). New York: John Wiley and Sons. 448 Pages.

Likert, R. (1970). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27