ศักยภาพการท่องเที่ยวบนฐานการใช้ทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: บ้านแม่พุงหลวง ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ความหลากหลายทางชีวภาพ, บ้านแม่พุงหลวงบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวบนฐานการใช้ทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:บ้านแม่พุงหลวง ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ สัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และคนในชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยว จำนวน 30 คน และสรุปข้อเสนอแนะที่ได้จากนักวิชาการ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาและสถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า บ้านแม่พุงหลวงเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์ตามวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงที่โดดเด่น สำหรับการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตาม ความคิดเห็นของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.65) โดยมีระดับศักยภาพการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการดึงดูดใจ (x̄ =3.77) และในด้านกิจกรรมและการจัดการท่องเที่ยว (x̄ =3.94) และมีระดับศักยภาพการท่องเที่ยวในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.24) ผลจากการประชุมกลุ่มย่อยพบว่า มีการจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนาสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว การจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ในชุมชน การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของบ้านแม่พุงหลวงที่หลากหลายช่องทางยิ่งขึ้น
References
จงกล จันทร์เรือง, อุมาพร ไชยสูง, ศศิธร รัตนประยูร, เอกชัย แซ่จึง, อัญชลี บุบผามาลา, โชติกา ฉิมงามเสริฐ และคณะ. (2563). แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนเขตอีสานใต้ด้วยเครือข่ายความร่วมมือและระบบสารสนเทศ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
จริยา โกเมนต์, เฉลิมชัย ปัญญาดี และคณะ. (2563). การพัฒนาหลักเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 92-104.
จิตคุปต์ ละอองปลิว. (2561). การท่องเที่ยวเมืองรอง: ทางเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี. อินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(2), 39-60.
ทิพย์วรรณ จุลิรัชนีกร, ปริญญา เรืองทิพย์, พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และปิยะทิพย์ ประดุจพรม. (2565). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 16(2), 15-32.
นภาพร จันทร์ฉาย และอัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากฐานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรณีศึกษาเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 176-189.
นัขนลิน อินทนุพัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(1), 181-198.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 171 หน้า.
ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์, พิรานันท์ จันทาพูน และจริยา โกเมนต์. (2565). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน : บ้านน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(3), 460-478.
พิรพิมพ์ ทั่งพรหม และศุภวัตร มีพร้อม. (2564). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(1), 16-30.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง, สุรชัย กังวล และวราภรณ์ นันทะเสน. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 8(2), 52-83.
มณฑณ ศรีสุข และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2563). กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตําบลนางพญา อําเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(3), 78-93.
วิศาล ศรีมหาวโร. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์ของชุมชนท้องถิ่นพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และโฮมสเตย์ ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษณ์ธานี, 8(1), 256-286.
ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สำนักงานเลขาธการวุฒิสภา 10(15). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก : http://library.senate.go.th/e-library/web/main.jsp?HMS=1582257832967.
สำนักงานจังหวัดแพร่. (2563). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดแพร่และอำเภอวังชิ้น. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563, จาก : http://phrae.go.th/index1.php.
สำนักงานปลัดประทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2565). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก : https://anyflip.com/zzfck/gopk/.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), ฐาวร บุญราศรี, ธัญลักษณ์ เจริญปรุ, ศุภสิทธิ์ จำปาวงษ์. (2564). ถอดบทเรียนท่องเที่ยวชีวภาพตลาดบ้านบ้าน (Bio Tourism). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก : https://oer.learn.in.th/search_detail/result/229708.
เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษากลุ่มเขาออกการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.
อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนบางตะบูนและชุมชนบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(1), 97-114.
UNWTO. (2022). Mountain tourism–Towards a more sustainable path. The World Tourism Organization (UNWTO). [Online]. Retrieved 1 April 2022, Available : http://unwto.org/.
Zhen, L., Lan, J., Chien, F., Sadiq, M. and Nawaz, M. A. (2022). Role of tourism development in environmental degradation: A step towards emission reduction. Journal of Environmental Management. [Online]. Retrieved 1 February 2022, Available : https://www.sciencedirect.com.
บุคลานุกรม
ชาวบ้าน ก (ผู้ให้สัมภาษณ์). พิรานันท์ จันทาพูน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านแม่พุงหลวง ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160. เมื่อวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2562.
ชาวบ้าน ข (ผู้ให้สัมภาษณ์). พิรานันท์ จันทาพูน ทิพารัตน์ สหตรงจิตร และกษมา ถาอ้าย (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านแม่พุงหลวง ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160. เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2562.
ชาวบ้าน ฃ-ฆ (ผู้ให้สัมภาษณ์). พิรานันท์ จันทาพูน ทิพารัตน์ สหตรงจิตร และกษมา ถาอ้าย (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านแม่พุงหลวง ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160. เมื่อวันที่ 1-2 มิถุนายน 2562.