ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาทางไกลในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กชกร โสไกร นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สรชาติ รังคะภูติ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด (7P’s), การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, ระบบการศึกษาทางไกล

บทคัดย่อ

            ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาทางไกลในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักเรียนในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ประชากรเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 และระดับชั้นปวช.ชั้นปีที่ 1-3 ที่ศึกษาอยู่ในจังหวัดชลบุรี และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 400 คน จากจำนวนประชากร 49,151 คน วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และระดับของปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 7P’s และวิเคราะห์วิเคราะห์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (correlation and multiple regression analysis)

            ผลการวิจัยประกอบด้วย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ได้แก่ physical evidence ด้านลักษณะทางกายภาพ promotion ด้านการส่งเสริมการตลาด และ productด้านหลักสูตร ตามลำดับ ส่วน price ด้านอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา process ด้านกระบวนการในการให้บริการ people ด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอนและเจ้าหน้าที่ และ place ด้านที่ตั้งและช่องทางการให้ความรู้ ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาทางไกลในจังหวัดชลบุรี

References

ตรีรัตน์ อรอมรรัตน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูประดับพรีเมี่ยม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยพีบีเอสออนไลน์. (2564). สธ.เปิดสถิติเด็กไทยเกิดต่ำกว่า 600,000 คน ครั้งแรกในรอบ 3 ปี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564, จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/301313.

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 256-271.

มีสิทธิ์ ชัยมณี. (2559). การเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วราสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 97-107.

ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558) ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนสาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารการวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(32), 35-46.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวะศึกษา. (2563) ข้อมูลสถิติด้านการศึกษา. จำนวนนักเรียนนักศึกษาปีการศึกษา 2563 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา เล็ก กลาง ใหญ่ (ภาครัฐ และเอกชน). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564, จาก : http://techno.vec.go.th/Default.aspx?tabid=659.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). เด็ก 5 แสนคน หล่นหายจากระบบ งบการศึกษากระจายไม่ทั่วถึง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564, จาก : https://research.eef.or.th/dropout-student/.

สมศักดิ์ หงษ์สุวรรณ และกรวีร์ ชัยอมรไพศาล. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาต่างประเทศ อัพเกรดอคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 151-166.

สมศรี เพชรโชติ. (2560) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาตร์ คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 168-184.

สยามรัฐออนไลน์. (2562). ชลบุรี “PIM”ขยายปักหมุดเปิดวิทยาเขต “EEC” แห่งแรกของไทยหวังปั้นบัณฑิตป้อนอุตสาหกรรม S-Curve. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564, จาก : https://siamrath.co.th/n/118660.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพม.เขต18 (ชลบุรี-ระยอง) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564, จาก : https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101718.

อารยา ทองโชติ และรุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

Marketeer. (2562). ตลาดมหาวิทยาลัยเอกชลโอกาสหรือวิกฤต? [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562, จาก : https://marketeeronline.co/archives/author/nuttachit.

Rudhumbu, N., Tirumalai, A. and Kumari, B. 2017. Factors that Influence Undergraduate Students’ Choice of a University: A Case of Botho University in Botswana. Journal of Macrothink Institute, 7(2), 27-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-04