การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์: กรณีศึกษาจากงานวิจัย

ผู้แต่ง

  • ธนัช ถิ่นวัฒนากูล อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สุขิฏฐา วิริยะไกรกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ณฐ สบายสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่อง, องค์ประกอบการเล่าเรื่อง, การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์

บทคัดย่อ

          การศึกษา เรื่อง การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์ กรณีศึกษาจากงานวิจัย ทำการศึกษาเพื่อรวบรวมรายชื่องานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเล่าเรื่องและศึกษาประเด็นหลักจากงานวิจัยเกี่ยวกับการเล่าเรื่องทาง นิเทศศาสตร์ โดยกรณีศึกษาจากงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ในสาขานิเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่จัดทำในช่วงปี พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2563 วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาจากเอกสาร (documentary research) ที่เป็นงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยครั้งนี้จะรวมทั้งงานวิจัยของนักวิชาการ คณาจารย์และวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของไทย โดยการศึกษาจากบทคัดย่อ วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลของเอกสารงานวิจัยที่มีการจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลงานแก่สาธารณะเท่านั้น แล้วจึงนำเสนอข้อมูลโดยการรวบรวมรายชื่อแล้วเรียงลำดับตามปีที่จัดทำ และประเภทของการสื่อสาร เพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการวิจัย เพื่อหาประเด็นหลักที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับการเล่าเรื่องของงานวิจัยเหล่านั้น
          ผลการศึกษา พบว่า 1) งานวิจัยที่ใช้คำว่า เรื่องเล่า หรือ การเล่าเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์ จำนวน 13 เรื่อง แบ่งตามประเภทของการสื่อสาร ดังนี้ การเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัล การเล่าเรื่องในสื่อโทรทัศน์ การเล่าเรื่องในสื่อภาพยนตร์ และ การเล่าเรื่องในสื่อร่วมสมัย และ 2) การศึกษาประเด็นหลักของการเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์จากงานวิจัย พบว่า การศึกษาเรื่องการเล่าเรื่องใช้แนวคิดการเล่าเรื่องและองค์ประกอบการเล่าเรื่องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก ตามองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก มุมมองการเล่าเรื่อง และสัญลักษณ์พิเศษ ภายใต้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร และไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงพื้นที่ของนิเทศศาสตร์เท่านั้น และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการเล่าเรื่องยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกับการสื่อสารในศาสตร์อื่น ๆ ได้ด้วย ทำให้มองเห็นการต่อยอดองค์ความรู้และการผสมผสานศาสตร์ของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

References

กรวิชญ์ ไทยฉาย และลักษณา คล้ายแก้ว. (2562) การเล่าเรื่อง ความหมาย และแก่นจินตนาการด้านเพศวิถีชายรักชาย ผ่านวรรณกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต, 1 พฤษภาคม 2563. 891 – 904. ปทุมธานี : วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2543) นิเทศศาสตร์กับเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง : วิเคราะห์การศึกษาจินตคดี-จินตทัศน์ในสื่อร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ. 134 หน้า.

ฐัชชนม์ วรพิพัฒน์ และไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2562) องค์ประกอบในการเล่าเรื่องผ่านแสงและเงา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฐพล หล้ามณี และลักษณา คล้ายแก้ว. (2561) การเล่าเรื่องวิถีวัฒนธรรมญี่ปุ่นในละครซีรีส์ เรื่อง อามะจัง สาวน้อยแห่งท้องทะเล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

นลินณัฐ ดีสวัสดิ์ และสิปปนันท์ นวลละออง. (2560) การถ่ายทอดเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์แบบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยระหว่าง เมืองเพชรบุรี และราชสำนักสยามด้วยสื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 135 หน้า

พยุงพร ศรีจันทวงษ์, มิตธิดา ปางชาติ, อนุวัต ศรีจันทา, อริญชัย หามณี และมนตรี ผ่านสุข. (2561) การศึกษาเรื่องเล่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และรับผิดชอบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 124 หน้า.

พรนิมิตร ธิราช และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2558) การเล่าเรื่องและการสื่อความหมายของภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแส. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทรทิวา บุษษะ และกฤษดา เกิดดี. (2561) การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่กำกับโดยนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ภัทรี ภัทรโสภสกุล. (2561) การเล่าเรื่องโดยใช้สื่อดิจิทัล (Digital Storytelling) ในการรายงานข่าวภัยพิบัติของสำนักข่าว CNN. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภูมิสิษฐ์ กฤตพิพัฒนโชติ์ และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2558) การศึกษาเปรียบเทียบการเล่าเรื่องและสื่อความหมายในมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่ง ยุคคลาสสิกกับยุคร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

โยธิน แสวงดี. (2558). การวิเคราะห์เนื้อหา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2563, จาก. https://slideplayer.in.th/slide/2188956/

รัชนีกร รัชตกรตระกูล. (2560) โครงการเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก: พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 251 หน้า.

รัฐวุฒิ มะลิซ้อน และฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2562) การวิเคราะห์การเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาภาพยนตร์ของ พิง ลำพระเพลิง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต: ปทุมธานี.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์. (2558) โครงสร้างการเล่าเรื่องสื่อการแสดงพื้นบ้านและการถอดรหัสของผู้รับสารในภาพยนตร์ไทย. ชลบุรี : โครงการจัดตั้งคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 158 หน้า

อรญา จันทร์เกตุ และไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2562) ทฤษฎีไม่เชิงเส้นสำหรับการสำรวจการเล่าเรื่อง. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558) การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์: ศึกษาจากงานวิจัย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2(1), 31 – 57.

Mogalakwena, M. (2006). The use of documentary research methods in social research.. African sociological review. 10 (1): p. 221-230.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29