แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคกลาง : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์
คำสำคัญ:
การจัดซื้อจัดจ้าง, สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ, การบริหารพัสดุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการและขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของสถาบันอุดมศึกษาในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และ 3) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคกลาง : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ศาลายา พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ วิทยาลัยเพาะช่าง และวิทยาเขตวังไกลกังวล ซึ่งจะมีการสัมภาษณ์พื้นที่ละ 5 คน รวมเป็น 20 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำรายงานการขอซื้อขอจ้าง การแต่งตั้งคณะกรรมการ การบริหารพัสดุ โดยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบ่งเป็น 3 วิธี คือ วิธีประกาศเชิญชวน วิธีคัดเลือก วิธีการเฉพาะเจาะจง 2) ปัญหาและอุปสรรคของการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า ปัจจัยที่เป็นปัญหา คือ ด้านการจัดหา ด้านการควบคุม ด้านการบำรุงรักษา ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคกลาง : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พบว่า ควรมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรในการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ และสร้างจิตสำนึกแก่บุคลากรให้มีความรับผิดชอบในการดูแลรักษา รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
References
กิตติศักดิ์ รัตนฉายา (2560). การบริหารงานพัสดุ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จาก : http://www.lertchaimaster.com/doc/ppt-egp-2560.pdf
เฉลิมชัย อุทการ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านการบริหารงานพัสดุกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน บุคลากรทางด้านพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(3), 24 – 33.
เฉลิมชัย อุทการ. (2563) ปัจจัยของการบริหารงานพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของนักวิชาการ พัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , 12(1), 55-65.
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา [ออนไลน์]. เล่ม 134. ตอนที่ 24 ก. หน้า 13 – 54. 24 กุมภาพันธ์ 2560. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2564). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก : https://www.rmutr.ac.th/
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา [ออนไลน์]. เล่ม 134. ตอนพิเศษ 210 ง. หน้า 1 – 71. 23 สิงหาคม 2560. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก https://www.finance.rmuti.ac.th/pr/cgd-2560.PDF
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา [ออนไลน์]. เล่ม 134. ตอนที่ 40 ก. หน้า 1. 6 เมษายน 2560. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
วารี แว่นแก้ว. (2561) ความเป็นมาเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จาก : http://supply.rid.go.th/e-learning/index.php/2018-07-08-09-40-06/2-uncategorised/23-2018-07-14-03-45-00
สุรพล นิติไกรพจน์. (2560). พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ รวมศูนย์อำนาจอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก : https://www.isranews.org/isranews-article